วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
รัฐใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างเพื่อประโยชน์ต่อรัฐ ดังนี้
- เพื่อลดการบริโภคสินค้าและบริการ ที่ก่อให้เกิดต้นทุนทางสังคมสูง มีผลต่อเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี ตลอดจนมีผลกระทบต่อสังคม เช่น การดื่มสุราแล้วทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุทะเลาะวิวาทฯ การสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง และบุคคลรอบข้าง เป็นผลเสียต่อสังคม เป็นต้น
- เพื่อส่งเสริมการออม โดยจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์นั่งราคาแพง น้ำหอม แก้วเลคคริสตัล โคมระย้า เครื่องดื่มบางประเภท เป็นต้น
- เพื่อปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แบตเตอรี่ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
- เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน โดยใช้มาตรการภาษีเป็นเครื่องมือ
- จัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการที่ใช้กิจการของรัฐเป็นพิเศษ
มีอะไรใหม่ใน พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
- จัดเก็บภาษีสินค้าน้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามันในอัตราตามปริมาณเพียงอย่างเดียว
- 1.1 กําหนดอัตราเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ น้ํามันเบนซินและดีเซล
- 1.2 กําหนดอัตราใหม่ ได้แก่สินค้า ดังนี้
- น้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องบินไอพ่น
- น้ํามันเตา
- มีการปรับลดอัตราภาษีให้สอดคล้องกบราคาขายปลีกแนะนํา ได้แก่สินค้าดังนี้
- 2.1 รถยนต์
- 2.2 แบตเตอรี่
- 2.3 จักรยานยนต์
- 2.4 ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสําอาง
- จัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้ง
จัดเก็บภาษีตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มผงและเครื่องดื่มเข้มข้นเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนัก
ถึงผลกระทบต่อสุขภาพหากบริโภคเครื่องดื่ม
- กําหนดอัตราศูนย์สําหรับสินค้าที่จัดเก็บรายได้น้อย เนื่องจากไม่มีความคุ้มค่าในการบริหารการ
จัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต ได้แก่สินค้าดังนี้
- 4.1 เครื่องไฟฟ้า (โคมระย้าคริสตัล)
- 4.2 แก้วและเครื่องแก้ว
- 4.3 พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น ๆ
ทั้งนี้ ยังมีประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติม ศึกษารายละเอียดได้เพิ่มจาก
https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mzax/~edisp/uatucm301625.pdf