รถยนต์นั่ง
จาก สารานุกรมสรรพสามิต
ไฟล์:06-08 Honda Civic Ph.jpg
ตัวอย่างรถยนต์นั่ง 06-08 Honda Civic Ph
รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัยและให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวรด้านข้างหรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด[1]
ประเภทสินค้าย่อย
ประเภทสินค้าย่อยตามรายละเอียดในคู่มือสรรพสามิตสินค้ารถยนต์
- รถยนต์นั่งสำเร็จรูป
- รถยนต์นั่งพยาบาล
- รถยนต์นั่งดัดแปลง
- รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก
- รถยนต์นั่งที่มีกระบะ
- รถยนต์นั่งประหยัดพลังงาน
- รถยนต์นั่งใช้เชื้อเพลิงทดแทน
- รถยนต์นั่งสามล้อ
- รถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นมาด้วยเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์
พิกัดภาษีสรรพสามิตที่เกี่ยวข้อง
- 05.01 รถยนต์นั่ง
- 05.01(1) รถยนต์นั่ง
- 05.01(2) รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (PPV) ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ รมต. กำหนด
- 05.01(3) รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ รมต. กำหนด
- 05.01(4) รถยนต์นั่ง ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่ รมต. กำหนดที่ผลิตจากรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์และกระจกบังลมหน้าหรือดัดแปลงจากรถยนต์กระบะ
- 05.01(4.1) ผลิตและดัดแปลงโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ รมต. กำหนด
- 05.01(4.2) ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลง ม.144 ตรี ซึ่งเสียภาษีตามมาตรา 144 เบญจ
- 05.01(4.2.1) ความจุไม่เกิน 2,000 CC และเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
- 05.01(4.2.2) ความจุเกิน 2,000 CC แต่ไม่เกิน 2,500 CC และเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
- 05.01(4.2.3) ความจุเกิน 2,500 CC แต่ไม่เกิน 3,000 CC และเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
- 05.01(4.2.4) ความจุเกิน 3,000 CC หรือเครื่องยนต์เกิน 220 แรงม้า
- 05.01 และ 05.02 รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
- 05.01-05.02(1) ใช้เป็นรถพยาบาล ส่วนราชการ โรงพยาบาล องค์การสาธารณกุศล ตามหลักเกณฑ์ รมต. กำหนด
- 05.01-05.02(2) รถยนต์ประเภทประหยัดพลังงาน
- 05.01-05.02(2.1) แบบผสมใช้เชื้อเพลิงและไฟฟ้า
- 05.01-05.02(2.2) แบบพลังงานไฟฟ้า
- 05.01-05.02(2.3) แบบเซลล์เชื้อเพลิง
- 05.01-05.02(2.4) รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล
- 05.01-05.02(3) ใช้เชื้อเพลิงทดแทน ความจุไม่เกิน 3,000 C.C. ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่ รมต. กำหนด
- 05.01-05.02(3.1) ใช้เอทานอลผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ได้ โดยใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวต้องมีจำหน่ายเป็นการทั่วไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
- 05.01-05.02(3.1.1) ความจุไม่เกิน 2,000 C.C. และเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
- 05.01-05.02(3.1.2) ความจุเกิน 2,000 C.C. แต่ไม่เกิน 2,500 C.C. และเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
- 05.01-05.02(3.1.3) ความจุเกิน 2,500 C.C. แต่ไม่เกิน 3,000 C.C. และเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
- 05.01-05.02(3.1.4) ความจุเกิน 3,000 C.C. หรือเครื่องยนต์เกิน 220 แรงม้า
- 05.01-05.02(3.2) ใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติได้
- 05.01-05.02(3.3) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้
- 05.01-05.02(3.3.1) ความจุตั้งแต่ 1,780 C.C. แต่ไม่เกิน 2,000 C.C. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า(HP)
- 05.01-05.02(3.3.2) ความจุเกิน 2,000 C.C. แต่ไม่เกิน 2,500 C.C. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า (HP)
- 05.01-05.02(3.3.3) ความจุเกิน 2,500 C.C. แต่ไม่เกิน 3,000 C.C. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า (HP)
- 05.01-05.02(3.1) ใช้เอทานอลผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ได้ โดยใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวต้องมีจำหน่ายเป็นการทั่วไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
- 05.01-05.02(4) รถยนต์นั่งสามล้อ และรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 C.C.