สารทำลายชั้นบรรยากาศ
เนื้อหา
- 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารทำลายชั้นบรรยากาศ
- 2 คุณลักษณะสารทำลายชั้นบรรยากาศ
- 3 กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- 4 พิกัดภาษีสรรพสามิตของสารทำลายชั้นบรรยากาศ
- 5 บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของสารทำลายชั้นบรรยากาศ
- 6 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
- 7 การคำนวณภาษี
- 8 พิกัดศุลกากร (Harmonize) ของสารทำลายชั้นบรรยากาศ
- 9 ข้อเสนอแนะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารทำลายชั้นบรรยากาศ
สารทำลายชั้นบรรยากาศ (Ozone Depleting Substances, ODS) เป็นกลุ่มของสารประเภท ไฮโดรคาร์บอนที่มีองค์ประกอบเป็นคลอรีน ฟลูออรีน และโบรมีน หรือกลุ่มของสารประเภทฮาโลเจเนเต็ตไฮโดรคาร์บอน (Halogenated Hydrocarbon) ดังแสดงในรูปที่ 1-1 ตัวอย่างสารทำลายชั้นบรรยากาศเช่น สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon, CFCs) ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbon, HCFCs) หรือ ฮาลอน (Halons) เป็นต้น องค์ประกอบของสารในกลุ่มนี้ เมื่อมีการสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศระดับสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่มีโอโซน (O3) จะเกิดการแตกตัว และมีการทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของโอโซน มีผลทำให้โมเลกุลโอโซนนั้นถูกทำลาย ซึ่งความสำคัญของโอโซนคือทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเล็ต (UV) ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกทะลุผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศ ในปริมาณที่มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หรือส่งกระทบต่อระบบนิเวศของโลกได้ ชั้นบรรยากาศของโลก
โดยกลไกในการทำลายโอโซนของสารในกลุ่มนี้ เริ่มต้นจากการที่สารทำลายชั้นบรรยากาศมีการลอยตัวสูงขึ้นไปในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และได้ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ต ทำให้โมเลกุลของสารดังกล่าวแตกตัวให้อะตอมของคลอรีน (CI) และเมื่ออะตอมของคลอรีนไปทำปฏิกิริยากับโอโซน เกิดเป็นสารประกอบชื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน (O2) โดยที่คลอรีนในสารประกอบคลอรีนโมโนออกไซด์ จะหลุดออกมาและไปทำลายโอโซนหรือทำให้โอโซนเกิดการแตกตัว โดยมีการดึงอะตอมของออกซิเจนออกมาต่อเนื่องกันไป โดยที่อะตอมของคลอรีนที่หลุดออกมา 1 อะตอมนั้น มีความสามารถในการทำลายโอโซน 1 โมเลกุลได้เป็นพันครั้ง เพราะเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์มีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว ก็จะทำให้เกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เป็นการทำลายโอโซนไปอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของสารทำลายชั้นบรรยากาศ
ประเทศไทยได้เป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกของพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศ ในปี พ.ศ. 2532 รวมถึงเป็นประเทศภาคีของอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซนด้วย ซึ่งมีพันธกรณีที่ต้องดำเนินการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศ ให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2553 จึงเป็นที่มาของการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 เพื่อใช้เป็นมาตรการในการสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกรณีดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง โดยพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้สารทำลายชั้นบรรยากาศประเภทอนุพันธ์ชนิดฮาโลเจเนเต็ดของไฮโดรคาร์บอน เป็นสินค้าที่ต้องจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเภทที่ 08.90 ตอนที่ 8 สินค้าอื่น ๆ ของพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ความหมายตามพระราชบัญญัติสารทำลายโอโซน พุทธศักราช 2486 คำว่า สารทำลายโอโซน หมายความว่า สารทำลายโอโซนซึ่งทำด้วยกระดาษหรือหนัง รวมถึงสารทำลายโอโซนซึ่งทำด้วยพลาสติก วัตถุจำพวก
พลาสติก หรือวัตถุเทียมหนัง หรือซึ่งทำด้วยวัตถุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
สารเคมีที่จัดว่าเป็นสารทำลายชั้นบรรยากาศ ได้แก่
- คาร์บอนเตตระคลอไรด์
- ไตรคลอโรอีเทน
- ไตรคลอโรฟลูออโรมีเทน
- ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน
- ไตรคลอโรไตรฟลูออโรอีเทน
- ไดคลอโรเตตระฟลูออโรอีเทน
- คลอโรเพนตะฟลูออโรอีเทน
- โบรโมคลอโรไดฟลูออโรมีเทน
- โบรโมไตรฟลูออโรมีเทน
- ไดโบรโมเตตระฟลูออโรอีเทน
- อื่นๆ
สารเคมีเหล่าจะนี้มีความสามารถในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน หรือที่เรียกว่า ศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Ozone Depleting Potential, ODP) แตกต่างกัน โดยสารที่มีค่า ODP มากจะมีศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนสูงกว่าสารที่มีค่า ODP ต่ำดังแสดงในตาราง 1-1
คุณลักษณะสารทำลายชั้นบรรยากาศ
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี | ข้อมูลประเภทสารเคมี |
2 | องค์ประกอบส่วนผสม | องค์ประกอบส่วนผสมสำคัญของสารทำลายชั้นบรรยากาศ |
3 | ข้อมูลอันตราย | ข้อมูลผลกระทบและอันตรายของสารทำลายชั้นบรรยากาศ |
4 | มาตรฐานการปฐมพยาบาล | มาตรฐานวิธีการปฐมพยาบาล |
5 | มาตรฐานผจญเพลิง | มาตรฐานวิธีการป้องกันอัคคีภัย |
6 | มาตรการเมื่อรั่วไหล | มาตรการดำเนินการเมื่อมีการรั่วไหลของสารเคมี |
7 | ข้อปฏิบัติการเก็บรักษา | รายละเอียดสำคัญในการเก็บรักษา |
8 | การควบคุมการสัมผัสสาร | ข้อมูลการควบคุมเมื่อมีการสัมผัสสาร |
9 | สมบัติทางเคมีและกายภาพ | คุณสมบัติสำคัญทางเคมีและกายภาพของสารเคมี |
10 | ความเสถียรต่อปฏิกริยา | ความเสถียรต่อปฏิกริยาของสารเคมี |
11 | เป็นสินค้าส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายในประเทศ หรือ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก |
12 | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศหรือไม่ |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติ
- ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฏหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฏหมาย พ.ศ. 2562 (เลขอ้างอิง 461)
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. 2560, 20 มีนาคม. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 32 ก. หน้า 1-47 (เลขอ้างอิง 462)
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (ฉบับภาษาอังกฤษ) EXCISE ACT B.E. 2560 (2017) (เลขอ้างอิง 464)
กฎกระทรวง
- กฎกระทรวง การยกเว้นหรือคืนภาษีสําหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนําเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นําเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 10)
- กฎกระทรวง การให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 15)
- กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ และการลดเงินเพิ่ม พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 17)
- กฎกระทรวง กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 29)
ประกาศกระทรวงการคลัง
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องยกเว้นภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 32)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกําหนดประเภทสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ได้รับยกเว้นจากบทบังคับแห่งมาตรา 23 (เลขอ้างอิง 252)
ประกาศกรมสรรพสามิต
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 113)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี (เลขอ้างอิง 140)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกัน (เลขอ้างอิง 105)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ และราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 112)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ก่อนการเปลี่ยนแปลงราคา (เลขอ้างอิง 177)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) (เลขอ้างอิง 190)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบรายการภาษีสรรพสามิต และสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (เลขอ้างอิง 107)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบรายการภาษีสรรพสามิต และสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) (เลขอ้างอิง 458)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยการรับ การจ่าย การเก็บรักษาสินค้าและการทำบัญชีคุมสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน (เลขอ้างอิง 81)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีสรรพสามิต กรณีสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาปิดทำการชั่วคราว (เลขอ้างอิง 502)
พิกัดภาษีสรรพสามิตของสารทำลายชั้นบรรยากาศ
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษี | ||
---|---|---|---|---|
ตามมูลค่าร้อยละ | ตามปริมาณ | |||
หน่วย | หน่วยละ (บาท) | |||
12.01 | สารทำลายชั้นบรรยากาศประเภทอนุพันธ์ฮาโลเจเนเต็ดของไฮโดรคาร์บอน | |||
(1) คาร์บอนเตตระคลอไรด์ | 30 | |||
(2) ไตรคลอโรอีเทน | 30 | |||
(3) ไตรคลอโรฟลูออโรมีเทน | 30 | |||
(4) ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน | 30 | |||
(5) ไตรคลอโรไตรฟลูออโรอีเทน | 30 | |||
(6) ไดคลอโรเตตระฟลูออโรอีเทน | 30 | |||
(7) คลอโรเพนตะฟลูออโรอีเทน | 30 | |||
(8) โบรโมคลอโรไดฟลูออโรมีเทน | 30 | |||
(9) โบรโมไตรฟลูออโรมีเทน | 30 | |||
(10) ไดโบรโมเตตระฟลูออโรอีเทน | 30 | |||
(11) อื่น ๆ นอกจาก (1) ถึง (10) | 0 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของสารทำลายชั้นบรรยากาศ
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของสารทำลายชั้นบรรยากาศ เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
สินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศใช้ราคาขายปลีกแนะนำ (โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในการคำนวณภาษี แทนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
วิธีการคำนวณภาษี
คำนวณค่าภาษีสรรพสามิตสำหรับสารทำลายชั้นบรรยากาศในอัตราตามมูลค่า = (ราคาขายปลีกแนะนำ x อัตราภาษีตามมูลค่า(ร้อยละ) x 0.01)
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
สมมุติราคาขายปลีกแนะนำของสารทำลายชั้นบรรยากาศคือ 10,000 บาท/กรัม (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และมีสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศจำนวน 30 กรัม
ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = (10,000 x 30 x 0.01 x 30) = 90,000 บาท
ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 = 90,000 x 0.1 = 9,000 บาท
รวมภาษีสรรพสามิต + ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อราชการส่วนท้องถิ่น ที่ต้องชำระ = 99,000 บาท
พิกัดศุลกากร (Harmonize) ของสารทำลายชั้นบรรยากาศ
เนื่องจากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 สารทำลายชั้นบรรยากาศได้ยกเลิกการนำเข้าตามตามข้อกําหนด กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงไม่มีความจำเป็นต้องจับคู่พิกัดศุลกากรเนื่องจากไม่มีการนำเข้าสินค้าทำลายชั้นบรรยากาศแล้ว แต่สามารถตรวจสอบข้อมูลรหัสสินค้าสำหรับระบบคอมลงระบบสารานุกรมสรรพสามิต ดังนี้
ข้อเสนอแนะ
หากมีข้อติชมหรือข้อเสนอแนะกับเนื้อหาของสินค้าหรือบริการ กรุณากรอก แบบฟอร์ม