สารานุกรมสรรพสามิต:ยาสูบ
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้ายาสูบ
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานให้นิยามความหมายของ “ยาสูบ” หมายถึง ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง ได้แก่ บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย
- อีกความหมายของยาสูบ คือ ใบของต้นยาสูบ ที่หั่นเป็นเส้น ใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้น มวนสูบ
- นอกจากนี้ยังหมายถึงชื่อไม้ล้มลุกชนิด Nicotiana tabacum L. ในวงศ์ Solanaceae ใบหั่นเป็นเส้นใช้กินกับหมากหรือมวนสูบ ทำเป็นผงใช้เป่าหรือสูดดม
ตาม[พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509] ได้ให้ความหมายของสินค้ายาสูบที่จัดเก็บภาษี ดังนี้
- "ต้นยาสูบ" หมายความว่า พืชนิโคเชียนาทาแบกกุ้ม (NICOTIANATABACUM)
- "พันธุ์ยาสูบพื้นเมือง" หมายความว่า ต้นยาสูบที่ปลูกในประเทศไทยมาแต่ดั้งเดิมและเมื่อบ่มด้วยแดดแล้วใบเป็นสีน้ำตาล
- "ใบยา" หมายความว่า ใบยาสดหรือใบยาแห้งของต้นยาสูบ
- "ยาอัด" หมายความว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยาสูบซึ่งได้ป่นหรือย่อยและทำเป็นแผ่นโดยมีวัตถุอื่นเจือปนด้วยหรือไม่ก็ตาม
- "ยาเส้น" หมายความว่า ใบยาหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว
- "ยาสูบ" หมายความว่า บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง และให้รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย
- "บุหรี่ซิกาแรต" หมายความว่า ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ไม่ว่าจะมีใบยาแห้งหรือยาอัดเจือปนหรือไม่ ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษ หรือใบยาแห้งหรือยาอัด
- "บุหรี่ซิการ์" หมายความว่า ใบยาแห้งหรือยาอัด ซึ่งมวนด้วยใบยาแห้งหรือยาอัด
- "บุหรี่อื่น" หมายความว่า ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ซี่งมวนด้วยใบตอง กลีบบัว กาบหมาก ใบมะกา ใบจาก หรือวัตถุอื่น ที่มิใช่กระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษและที่มิใช่ใบยาแห้งหรือยาอัด
- "ยาเส้นปรุง" หมายความว่า ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ
- "ยาเคี้ยว" หมายความว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้งนอกจากใบยาแห้งพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว
คุณลักษณะยาสูบ
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | เครื่องหมายการค้าหลัก | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้
ความคุ้มครองตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 |
2 | ปริมารณบรรจุ/หน่วย | ปริมาณน้ำหนักสินค้า ต่อ 1 หน่วยสินค้า เช่น ปริมาณน้ำหนักบุหรี่ซิกาแรต1 มวน เท่ากับ 1 กรัม |
3 | ขนาดบรรจุ | ขนาดบรรจุสินค้ายาสูบ เช่น จำนวนมวนต่อซอง หรือ จำนวนซองต่อห่อ |
4 | ชนิดซอง | ชนิดซองบรรจุ เช่น ซองแข็ง/ซองอ่อน |
5 | เครื่องหมายการค้ารอง | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511
- พระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2512
- พระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2521
- พระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2523
- พระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2534
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 187) เรื่อง กำหนดฐานภาษี ประเภท และชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าแสตมป์ การรับ-จ่าย การเก็บรักษา การควบคุมการใช้แสตมป์ยาสูบที่นำไปปิดบนซองบุหรี่ซิกาแรตที่ทำในราชอาณาจักร ลงวันที่
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องให้แจ้งราคาขายยาเส้นหรือยาสูบ ณ โรงอุตสาหกรรมยาสูบ ลงวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2535
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง ผ่อนผันให้ผู้เดินทางนำยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรทางด่านศุลกากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานแต่ต้องชำระค่าแสตมป์ยาสูบโดยการปิดและขีดฆ่าแสตมป์ยาสูบตามวิธีการที่กำหนด ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง วิธีการปิดและขีดฆ่าแสตมป์ยาสูบ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
- กฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าแสตมป์ยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
- ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
- ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การนำส่งเงิน การงดเว้น การยกเว้น การลดหย่อน และการขอคืนเงินบำรุงองค์การขององค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. 2551
- ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยวิธีการ เงื่อนไขและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปิดและขีดฆ่าแสตมป์ยาสูบ อัตราค่าแสตมป์ยาสูบ ๐.๐๐ บาท สำหรับยาเส้นของผู้ได้รับอนุญาตให้เพาะปลูกฯ พ.ศ. 2556
- ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วย วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการชำระค่าแสตมป์ยาสูบสำหรับยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่ผู้เดินทางนำติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักรทางด่านศุลกากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2553
- ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การจ่ายแสตมป์ยาสูบทดแทนสำหรับแสตมป์ยาสูบที่ทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2544
- พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ไว้ ณ วันท ี่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
อัตราภาษีสรรพสามิตสินค้ายาสูบ
อัตราภาษีของสินค้ายาสูบ | |||||
---|---|---|---|---|---|
รายการ | อัตราสูงสุดที่จัดเก็บ | อัตราที่จัดเก็บในปัจจุบัน | |||
ตามมูลค่า(ร้อยละ) | ตามปริมาณ(บาท) | ตามมูลค่า(ร้อยละ) | ตามปริมาณ(บาท) | ||
1.ยาเส้น | 90 | 3.00 บาท/ก. | 10 | 0.01 บาท/ก. | |
2.ยาสูบ | |||||
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 87 | 1.00 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 20 | 1.00 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 10 | 0.01 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 20 | 1.00 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 10 | 0.10 บาท/ก. |
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
สินค้ายาสูบมีการคิดภาษี 2 วิธีคือ คิดอัตราภาษีตามมูลค่าและคิดอัตราภาษีตามปริมาณ โดยผู้เสียภาษีต้องคำนวณการเสียภาษีทั้ง 2 วิธี และให้เสียภาษีตามวิธีที่คำนวณแล้วเป็นเงินสูงกว่า วิธีการคำนวณภาษีสินค้ายาสูบและตัวอย่างการคำนวณแสดงในหัวข้อ 3.1 นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการนำเข้าส่งออกสินค้ายาสูบ ต้องมีการเสียภาษีการนำเข้าส่งออกที่กรมศุลกากร และต้องระบุรหัสพิกัดศุลกากรของสินค้าในการแจ้งเสียภาษี
วิธีการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบที่ทำในราชอาณาจักร
- วิธีที่ 1 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามมูลค่า
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (ต้นทุนการผลิตไม่รวมค่าแสตมป์ยาสูบ) x อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า / 1- อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า
- วิธีที่ 2 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณ
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = น้ำหนัก (กรัม) x อัตราค่าแสตมป์ตามปริมาณ
ตัวอย่าง
- บุหรี่ซิกาแรตก้นกรองซองแข็งมีต้นทุนการผลิตไม่รวมค่าแสตมป์ยาสูบ 6.25 บาท/ซอง
วิธีการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
- วิธีที่ 1 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามมูลค่า
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (ซี.ไอ.เอฟ + อากร + ค่าธรรมเนียมอื่น) x อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า / 1- อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า
- วิธีที่ 2 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณ
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = น้ำหนัก (กรัม) x อัตราค่าแสตมป์ตามปริมาณ
ตัวอย่าง
- บุหรี่ซิกาแรตนำเข้า มี ราคา ซี.ไอ.เอฟ. + อากร + ค่าธรรมเนียมอื่น 10.00 บาท ต่อซอง
วิธีคำนวณ
- วิธีที่ 1 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามมูลค่า
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (10 x 80%) / (1 – 80%)
- = 8/0.2
- = 40 บาทต่อซอง
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (10 x 80%) / (1 – 80%)
- วิธีที่ 2 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณค่าแสตมป์ยาสูบบุหรี่ซิกาแรตยกเว้นการเก็บค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณ
- ดังนั้น ต้องชำระค่าแสตมป์ยาสูบ 40 บาท/ซอง