เรือ
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าเรือ
ความหมายตามพระราชบัญญัติเรือไทย
- เรือ คือยานพาหนะทางน้ำ จำแนกออกได้เป็นหลายประเภท เรือที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้แก่ เรือยอชต์ (Yacht) ซึ่งเป็นยานพาหนะทางน้ำที่มีความหรูหรา และมีราคาแพง ใช้ในการท่องเที่ยว พักผ่อน ในทะเลและมหาสมุทร
- เรือยอชต์ จัดเป็นเรือสำราญกีฬา ประเภทเดียวกับ Speed Boat, Power Boat และ Jetski ตามการจำแนกประเภทของกองทะเบียนเรือกรมเจ้าท่า ซึ่งสามารถจำแนกประเภทตามลักษณะของเรือยอชต์ได้ดังนี้
- Sailing Boat ได้แก่ เรือยอชต์ที่แล่นด้วยกำลังลมเป็นหลัก มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กไว้ใช้ในกรณีไม่มีลม
- Motor Boat ได้แก่ เรือยอชต์ที่แล่นด้วยกำลังของเครื่องยนต์ที่นิยมกันอยู่โดยทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนขนาดใหญ่มากกว่า 200 ตันกรอส หรือที่เรียกว่า Mega Yacht
ความหมายของกรมสรรพสามิต
- เรือ หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด
คุณลักษณะสินค้า
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | เครื่องหมายการค้าหลัก | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ให้ใส่ชื่อเครื่องหมายการค้าหลักของสินค้าหรือบริการ |
2 | เครื่องหมายการค้ารอง | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 |
3 | ราคา C.I.F. | ราคา Cost, Insurance and Freight สำหรับสินค้านำเข้า |
4 | ราคาขายปลีกแนะนำ | ราคาขายที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าประสงค์ จะกำหนดเป็นราคาขายปลีกแนะนำให้ผู้ขายปลีกขาย สินค้าของตนให้แก่ผู้บริโภครายสุดท้ายในตลาดปกติ โดยราคาดังกล่าวเป็นราคาที่กรมสรรพสามิตใช้เป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีในกรณีภาษีตามมูลค่า สำหรับสินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิต |
5 | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ ถ้าเป็นสินค้านำเข้าตอบ ใช่ ถ้าไม่ใช่สินค้านำเข้าตอบ ไม่ |
6 | นำเข้ามาจากประเทศ | ประเทศที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนำสินค้าเข้ามา |
7 | ส่งออกไปยังประเทศ | จุดหมายปลายทางที่ผู้ส่งออกทำการส่งสินค้าออกไปนอกประเทศ |
8 | เป็นเรือเพื่อความสำราญหรือไม่ | เป็นเรือเพื่อความสำราญหรือไม่ ถ้าเป็นเรือเพื่อความสำราญตอบ ใช่ ถ้าไม่ใช่เรือเพื่อความสำราญตอบ ไม่ |
9 | เป็นเรือเพื่อเกมกีฬาหรือไม่ | เป็นเรือเพื่อเกมกีฬาหรือไม่ ถ้าเป็นเรือเพื่อเกมกีฬาตอบ ใช่ ถ้าไม่ใช่เรือเพื่อเกมกีฬาตอบ ไม่ |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติ
- ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฏหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฏหมาย พ.ศ. 2562 (เลขอ้างอิง 461)
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. 2560, 20 มีนาคม. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 32 ก. หน้า 1-47 (เลขอ้างอิง 462)
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (ฉบับภาษาอังกฤษ) EXCISE ACT B.E. 2560 (2017) (เลขอ้างอิง 464)
กฎกระทรวง
- กฎกระทรวง การยกเว้นหรือคืนภาษีสําหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนําเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นําเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 10)
- กฎกระทรวง การให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 15)
- กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ และการลดเงินเพิ่ม พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 17)
- กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 29)
ประกาศกระทรวงการคลัง
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องยกเว้นภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 32)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกําหนดประเภทสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ได้รับยกเว้นจากบทบังคับแห่งมาตรา 23 (เลขอ้างอิง 252)
ประกาศกรมสรรพสามิต
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 113)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 115)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี (เลขอ้างอิง 140)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกัน (เลขอ้างอิง 105)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ และราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 112)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ก่อนการเปลี่ยนแปลงราคา (เลขอ้างอิง 177)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) (เลขอ้างอิง 190)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบรายการภาษีสรรพสามิต และสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (เลขอ้างอิง 107)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบรายการภาษีสรรพสามิต และสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) (เลขอ้างอิง 458)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยการรับ การจ่าย การเก็บรักษาสินค้าและการทำบัญชีคุมสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน (เลขอ้างอิง 81)
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าเรือ
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษี | ||
---|---|---|---|---|
ตามมูลค่าร้อยละ | ตามปริมาณ | |||
หน่วย | หน่วยละ (บาท) | |||
08.01 | เรือยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสําราญ | 0 | ||
08.90 | อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง | 30 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าเรือ
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าเรือ เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าเรือ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
สินค้าเรือได้กำหนดการเก็บภาษีตามมูลค่าแต่เพียงอย่างเดียว
วิธีการคำนวณภาษี
ภาษีสรรพสามิต = ราคาขายปลีกแนะนำ x อัตราภาษีตามมูลค่า
ภาษีพึงชำระ = ภาษีสรรพสามิต + (ภาษีสรรพสามิต x ภาษีเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต)
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
สมมุติราคาขายปลีกแนะนำของสินค้าเรือคือ 50,000,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = (50,000,000 x 0 x 0.01) = 0 บาท
ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 = 0 x 0.1 = 0 บาท
รวมภาษีสรรพสามิต + ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อราชการส่วนท้องถิ่น ที่ต้องชำระ = 0 + 0 = 0 บาท
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าเรือ
พิกัดศุลากร (Harmonize) สินค้าเรือ สำหรับการนำเข้า/ส่งออกสินค้าเรือ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร และในการแจ้งขออนุญาตนำเข้า/ส่งออกสินค้า จำเป็นที่จะต้องทราบพิกัดของศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้สามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดสินค้าของกรมสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรของสินค้าเรือ
ข้อเสนอแนะ
หากมีข้อติชมหรือข้อเสนอแนะกับเนื้อหาของสินค้าหรือบริการ กรุณากรอก แบบฟอร์ม