แบตเตอรี่
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าแบตเตอรี่
ความหมายทั่วไปของสินค้าแบตเตอรี่
เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยน พลังงานเคมีที่เก็บไว้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้เป็น 4 ชนิดดังนี้
- แบตเตอรี่ปฐมภูมิ เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วไม่สามารถนำกลับมาชาร์จประจุเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่มักเรียกกันว่า “ถ่าน” มีอยู่หลายชนิด เช่น ถ่านอัลคาไลน์ ถ่านลิเทียม เป็นต้น แบตเตอรี่แบบนี้มีหลายขนาด ใช้ในวิทยุ นาฬิกา เก็บพลังงานได้สูง อายุการใช้งานสูง แต่เมื่อถูกใช้หมดจะกลายเป็นขยะมลพิษ
- แบตเตอรี่ทุติยภูมิ เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วสามารถนำกลับมาชาร์จประจุเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่มือถือ และถ่านรุ่นใหม่ๆ เป็นต้น
- แบตเตอรี่เชิงกล เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วนำกลับมาชาร์จประจุใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนขั้วอิเล็กโทรดขั้วลบของแบตเตอรี่ที่ใช้งานแล้ว ซึ่งทำให้มีการชาร์จประจุอย่างรวดเร็ว เช่น แบตเตอรี่ชนิดอลูมิเนียม-อากาศ
- แบตเตอรี่ผสม เป็นแบตเตอรี่ที่มีเซลล์ของเชื้อเพลิงผสมอยู่ โดยขั้วอิเล็กโทรดข้างหนึ่งเป็นก๊าซและอีกข้างหนึ่งเป็นขั้วของตัวมันเอง เช่น แบตเตอรี่ชนิดซิงค์-โบรมีน
ความหมายสินค้าแบตเตอรี่ของกรมสรรพสามิต
ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 แบตเตอรี่ หมายความว่า เซลล์หรือหมู่เซลล์ไฟฟ้าซึ่งต่อกันอยู่อย่างอนุกรมหรืออย่างขนานหรือทั้ง 2 อย่าง และสามารถเก็บพลังงานและให้พลังงานไฟฟ้าได้ ประเภทของแบตเตอรี่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่แห้ง (Dry Cell) และ แบตเตอรี่น้ำ (Storage Battery)
คุณลักษณะสินค้า
ลำดับที่ | ชื่อข้อมูลคุณสมบัติ | ความหมาย |
---|---|---|
1 | ชื่อ | ชื่อหรือชนิดของแบตเตอรี่ |
2 | เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสิ่งของอื่น เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรหรือไม่ | เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสิ่งของอื่น เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรหรือไม่ เพราะเป็นเงื่อนไขในการเก็บภาษีในอัตราศูนย์ |
3 | ราคาขายปลีกแนะนำ | ราคาขายที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าประสงค์จะกำหนดเป็นราคาขายปลีกแนะนำให้ผู้ขายปลีกขายสินค้าของตนให้แก่ผู้บริโภครายสุดท้ายในตลาดปกติ |
4 | เป็นสินค้าส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายในประเทศ หรือ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก |
5 | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศหรือไม่ |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติ
- ประกาศรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฏหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฏหมาย พ.ศ. 2562 (เลขอ้างอิง 461)
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. 2560, 20 มีนาคม. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 32 ก. หน้า 1-47 (เลขอ้างอิง 462)
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (ฉบับภาษาอังกฤษ) EXCISE ACT B.E. 2560 (2017) (เลขอ้างอิง 464)
กฎกระทรวง
- กฎกระทรวง การยกเว้นหรือคืนภาษีสําหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนําเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นําเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 10)
- กฎกระทรวง การให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 15)
- กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ และการลดเงินเพิ่ม พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 17)
- กฎกระทรวง กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 29)
ประกาศกระทรวงการคลัง
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องยกเว้นภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 32)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกําหนดประเภทสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ได้รับยกเว้นจากบทบังคับแห่งมาตรา 23 (เลขอ้างอิง 252)
ประกาศกรมสรรพสามิต
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราศูนย์สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิตสิ่งของอื่นเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 102)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 113)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี (เลขอ้างอิง 140)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอคืนภาษีที่ได้เสียไว้แล้วสำหรับสินค้าที่พิสูจน์ได้ว่าเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพจนใช้การไม่ได้ พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 97)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกัน (เลขอ้างอิง 105)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ และราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 (เลขอ้างอิง 112)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ก่อนการเปลี่ยนแปลงราคา (เลขอ้างอิง 177)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) (เลขอ้างอิง 190)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบรายการภาษีสรรพสามิต และสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (เลขอ้างอิง 107)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบรายการภาษีสรรพสามิต และสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) (เลขอ้างอิง 458)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยการรับ การจ่าย การเก็บรักษาสินค้าและการทำบัญชีคุมสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน (เลขอ้างอิง 81)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 11) (เลขอ้างอิง 495)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีสรรพสามิต กรณีสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาปิดทำการชั่วคราว (เลขอ้างอิง 502)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การส่งเอกสารให้หน่วยงานของกรมสรรพสามิตในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (ฉบับที่ 2) (เลขอ้างอิง 489)
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าแบตเตอรี่
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษี | ||
---|---|---|---|---|
ตามมูลค่าร้อยละ | ตามปริมาณ | |||
หน่วย | หน่วยละ (บาท) | |||
04.01 | แบตเตอรี่ | |||
(1) แบตเตอรี่ | 8 | |||
(2) แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสิ่งของอื่นเพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด | 0 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าแบตเตอรี่
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าแบตเตอรี่ เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าแบตเตอรี่ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
สินค้าแบตเตอรี่ได้กำหนดการเก็บภาษีตามมูลค่าแต่เพียงอย่างเดียว
วิธีการคำนวณภาษี
ภาษีสรรพสามิต = ราคาขายปลีกแนะนำ x อัตราภาษีตามมูลค่า
ภาษีพึงชำระ = ภาษีสรรพสามิต + (ภาษีสรรพสามิต x ภาษีเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต)
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
สมมุติราคาขายปลีกแนะนำของแบตเตอรี่คือ 3,500 บาท/ลูก (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และมีสินค้าแบตเตอรี่จำนวน 20 ลูก
ภาษีสรรพสามิต = ราคาขายปลีกแนะนำ x อัตราภาษีตามมูลค่า
ภาษีสรรพสามิต = (3,500 x 0.08) x 20 ลูก = 5,600 บาท
ภาษีพึงชำระ = ภาษีสรรพสามิต + (ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อราชการส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต)
ภาษีพึงชำระ = 5,600 + (5,600 x 0.1) = 6,160 บาท
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าแบตเตอรี่
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าแบตเตอรี่ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าแบตเตอรี่ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ
หากมีข้อติชมหรือข้อเสนอแนะกับเนื้อหาของสินค้าหรือบริการ กรุณากรอก แบบฟอร์ม