ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถยนต์"
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | == [[พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560|พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560]] | + | == พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 == |
− | + | [[พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560|พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560]] | |
== ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้ารถยนต์ == | == ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้ารถยนต์ == | ||
ความหมายตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ตอนที่ 5 | ความหมายตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ตอนที่ 5 |
รุ่นเมื่อ 05:56, 10 เมษายน 2560
เนื้อหา
- 1 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560
- 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้ารถยนต์
- 3 คุณลักษณะรถยนต์
- 4 กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- 5 พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ (พรบ. พ.ศ.2527)
- 6 บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์
- 7 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
- 8 การคำนวณภาษี
- 9 พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้ารถยนต์
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้ารถยนต์
ความหมายตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ตอนที่ 5
- รถยนต์ หมายความว่า รถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อและเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์กำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น แต่ไม่รวมถึงรถที่เดินบนราง รถจักรยานยนต์มีพ่วงข้างไม่เกินหนึ่งล้อ และรถยนต์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบก
ษา
- รถยนต์นั่ง หมายความว่า รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้นั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างและหรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด
- รถยนต์โดยสาร หมายความว่า รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมากรวม ทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน
- รถยนต์กระบะ หมายความว่า รถยนต์ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับและตอนหลังเป็นกระบะบรรทุกซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถไม่มีหลังคา
ความหมายตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522
- รถ หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบนซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วยทั้งนี้ เว้นแต่รถไฟ
ความหมายตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
- รถยนต์ หมายความว่า ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ตามปรกติมี 4 ล้อ มีหลายแบบหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามความมุ่งหมายที่ใช้เป็นต้น เช่น รถเก๋งรถบรรทุก รถโดยสาร หรือ รถที่มีล้อตั้งแต่ 3 ล้อ และเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นยกเว้นที่เดินบนราง
คุณลักษณะรถยนต์
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก (กก.) | น้ำหนักของรถรวมกับปริมาณน้ำหนักของสิ่งของสูงสุดที่สามารถบรรทุกได้ |
2 | หมายเลขเครื่องยนต์ | หมายเลขเครื่องยนต์ของรถยนต์ ส่วนมากแสดงอยู่บริเวณด้านข้างของเครื่องยนต์ |
3 | ขนาดความจุกระบอกสูบ | ขนาดความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์ของรถยนต์ มีหน่วยวัดเป็น ซี.ซี. (CC) หรือเรียกว่าปริมาตรกระบอกสูบ |
4 | ประเภทของเครื่องยนต์ | ประเภท หรือชนิดของเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ เช่น เบนซิน ดีเซล เป็นต้น |
5 | เครื่องหมายการค้าหลัก | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครอง ตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 |
6 | แรงม้า | แรงที่เครื่องยนต์ทำได้สูงสุดที่รอบสูงสุด |
7 | หมายเลขตัวถัง | หมายเลขประจำตัวถังของรถยนต์ หมายเลขตัวถังของรถยนต์ส่วนมากสามารถดูได้บริเวณใต้พรมฝั่งคนขับ |
8 | จำนวนที่นั่ง | จำนวนที่นั่งภายในรถยนต์ของผู้โดยสารรวมคนขับ |
9 | ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุหรือไม่ (ระบบ Active Safety) | ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด |
10 | ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ | ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ หน่วยเป็น กรัม/ กิโลเมตร |
11 | ดัดแปลงโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือไม่ | กรณีดัดแปลงรถยนต์โดยไม่ใช่
ผู้ประกอบอุตสาหกรรม คุณสมบัติจะเป็น “ไม่” หากดัดแปลงโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรม คุณสมบัติจะเป็น “ใช่” |
12 | รุ่น | รุ่นโมเดลรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิต |
13 | ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลที่ใช้ | ปริมาณเอทานอลของน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงประเภท E20
มีร้อยละปริมาณเชื้อเพลิงประเภทเอทานอล 20 เบนซินร้อยละ 80 |
14 | เครื่องหมายการค้ารอง | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 |
15 | ราคาขายปลีกแนะนำ | ราคาขายปลีกแนะนำที่ผู้ประกอบ
อุตสาหกรรมผู้นำเข้า กำหนดให้เป็นราคาขายต่อผู้บริโภคทั่วไปรายสุดท้ายโดยสุจริตและเปิดเผยในตลาดปกติ โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ที่องค์กรของรัฐบาลเสียแทนผู้ขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร และภาษีของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
16 | สี | สีของรถยนต์ |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 109) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง คุณสมบัติของผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งนำรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์ (Chassis with Windshield) ของรถยนต์กระบะมาผลิตหรือนำรถยนต์กระบะมาดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่ง ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และจำนวนของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดบสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ใช้เป็นรถพยาบาล ของส่วนราชการ โรงพยาบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 127) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle : PPV) ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์ที่มีกระบะ (Double Cab) ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์ที่ผลิตจากรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์และกระจกบังลมหน้า (Chassis with Windshield) ของรถยนต์กระบะหรือดัดแปลงมาจากรถยนต์กระบะ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง คุณสมบัติของผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งนำรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์และกระจกบังลมหน้า (Chassis with Windshield) ของรถยนต์กระบะมาผลิตหรือนำรถยนต์กระบะมาดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่ง ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และจำนวนของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คนที่ใช้เป็นรถพยาบาล ของส่วนราชการ โรงพยาบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน ประเภทประหยัดพลังงาน แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle) ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทนที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของรถยนต์นั่งที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งที่ทีกระบะ (Double Cab) ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle : PPV) ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงาน แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle) ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทนที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งที่ผลิตจากรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์และกระจกบังลมหน้า (Chassis with Windshield) ของรถยนต์กระบะหรือดัดแปลงมาจากรถยนต์กระบะ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) และเรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของรถยนต์นั่งที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงาน แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไปฟ้า (Hybrid Electric) ที่ได้รับการลดอัตราภาษี ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle : PPV) ที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) ที่ได้รับการลดอัตราภาษี ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทนที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์นั่งที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ (พรบ. พ.ศ.2527)
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
ตอนที่ 5 รถยนต์ | |||
05.01 | รถยนต์นั่ง | ||
05.01 (1) | (1) รถยนต์นั่ง | ||
05.01 (1) (1.1) | (1.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 30 |
05.01 (1) (1.2) | (1.2) ที่ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 35 |
05.01 (1) (1.3) | (1.3) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/ กิโลเมตร | 50 | 40 |
05.01 (1) (1.4) | (1.4) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 (2) | (2) รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle:PPV) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.01 (2) (2.1) | (2.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 25 |
05.01 (2) (2.2) | (2.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 30 |
05.01 (2) (2.3) | (2.3) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 (3) | (3) รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.01 (3) (3.1) | (3.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 12 |
05.01 (3) (3.2) | (3.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 35 |
05.01 (3) (3.3) | (3.3) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 (4) | (4) รถยนต์นั่งตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด ที่ผลิตจากรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์และกระจกบังลมหน้า (Chassis with Windshield) ของรถยนต์กระบะหรือดัดแปลงจากรถยนต์กระบะ | ||
05.01 (4) (4.1) | (4.1) ที่ผลิตหรือดัดแปลงโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรม ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.01 (4) (4.1) (4.1.1) | (4.1.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 3 |
05.01 (4) (4.1) (4.1.2) | (4.1.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 (4) (4.2) | (4.2) ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลงตามมาตรา 144 ตรี ซึ่งเสียภาษีตามมาตรา 144 เบญจ | 50 | อัตราภาษีตาม (1) รถยนต์นั่ง (1.1-1.4) |
05.02 | รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน | ||
05.02 (1) | (1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร | 50 | 30 |
05.02 (2) | (2) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 35 |
05.02 (3) | (3) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/ กิโลเมตร | 50 | 40 |
05.02 (4) | (4) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 และ 05.02 | รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน | ||
05.01 และ 05.02 (1) | (1) ที่ใช้เป็นรถพยาบาลของส่วนราชการโรงพยาบาลหรือองค์การสาธารณกุศลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และจำนวนที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | ยกเว้นภาษี |
05.01 และ 05.02 (2) | (2) ประเภทประหยัดพลังงาน | ||
05.01 และ 05.02 (2) (2.1) | (2.1) แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle) ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.01 และ 05.02 (2) (2.1) (2.1.1) | (2.1.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกินเกิน 100 กรัม/กิโลเมตร และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 10 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.1) (2.1.2) | (2.1.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 100 กรัม/ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 150 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 20 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.1) (2.1.3) | (2.1.3) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 25 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.1) (2.1.4) | (2.1.4) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/ กิโลเมตร | 50 | 30 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.1) (2.1.5) | (2.1.5) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.2) | (2.2) แบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) | 50 | 10 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.3) | (2.3) แบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle) | 50 | 10 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.4) | (2.4) รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.01 และ 05.02 (2) (2.4) (2.4.1) | (2.4.1) เครื่องยนต์เบนซิน ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 17 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.4) (2.4.2) | (2.4.2) เครื่องยนต์ดีเซล ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 17 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.4) (2.4.3) | (2.4.3) เครื่องยนต์เบนซิน ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 100 กรัม/ กิโลเมตร และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 14 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.4) (2.4.4) | (2.4.4) เครื่องยนต์ดีเซล ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 100 กรัม/ กิโลเมตร และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 14 |
05.01 และ 05.02 (2) (2.4) (2.4.5) | (2.4.5) เครื่องยนต์เบนซิน ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตรที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 100 กรัม/ กิโลเมตรและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 12 |
05.01 และ 05.02 (3) | (3) ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทน ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.01 และ 05.02 (3) (3.1) | (3.1) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ | ||
05.01 และ 05.02 (3) (3.1) (3.1.1) | (3.1.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตรและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 25 |
05.01 และ 05.02 (3) (3.1) (3.1.2) | (3.1.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 30 |
05.01 และ 05.02 (3) (3.1) (3.1.3) | (3.1.3) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 35 |
05.01 และ 05.02 (3) (3.1) (3.1.4) | (3.1.4) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 และ 05.02 (3) (3.2) | (3.2) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติได้ | ||
05.01 และ 05.02 (3) (3.2) (3.2.1) | (3.2.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด | 50 | 25 |
05.01 และ 05.02 (3) (3.2) (3.2.2) | (3.2.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 150 กรัม/ กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 30 |
05.01 และ 05.02 (3) (3.2) (3.2.3) | (3.2.3) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/ กิโลเมตร | 50 | 35 |
05.01 และ 05.02 (3) (3.2) (3.2.4) | (3.2.4) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
05.01 และ 05.02 (4) | (4) รถยนต์นั่งสามล้อและรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | ||
05.01 และ 05.02 (4) (4.1) | (4.1) รถยนต์นั่งสามล้อ | 50 | 5 |
05.01 และ 05.02 (4) (4.2) | (4.2) รถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 5 |
05.90 | รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม | ||
05.90 (1) | (1) ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (No Cab) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.90 (1) (1.1) | (1.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร | 50 | 3 |
05.90 (2) | (2) ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด | ||
05.90 (2) (2.1) | (2.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/ กิโลเมตร | 50 | 5 |
05.90 (2) (2.2) | (2.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/ กิโลเมตร | 50 | 7 |
05.90 (3) | (3) อื่นๆนอกจาก (1) และ (2) | ||
05.90 (3) (3.1) | (3.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 18 |
05.90 (3) (3.2) | (3.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร | 50 | 50 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้ารถยนต์ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
กรณีทราบราคาขายสุทธิ
บริษัท มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบ 2,200 ซี.ซี. 200 แรงม้า จำนวน 5 คัน ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) ชิ้นละ 1,750,000 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 35
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี = (5 x 1,750,000) x 35/100 = 3,062,500 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 3,062,500 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 306,250 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 3,368,750 บาท
กรณียังไม่ทราบราคาขายสุทธิ
รถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบ 2,200 ซี.ซี. 200 แรงม้า จำนวน 5 คัน ราคาคันละ 1,750,000 บาท (ราคาต้นทุน + กำไรที่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิต) อัตราภาษีสรรพสามิตตามูลค่าร้อยละ 35
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม x อัตราภาษี)/(1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((5 x 1,750,000) x 0.35)/(1-(1.1 x 0.35)) = 4,979,674.79 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 4,979,674.79 พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยร้อยละ 10 ของภาษี = 497,967.47 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 5,477,642.26 บาท
กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ
บริษัท มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้ารถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบ 3,400 ซี.ซี. 198 แรงม้า จำนวน 5 คัน ขนาดความจุกระบอกสูบ ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 607,914.42 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 486,331.54 บาท อากรพิเศษ 48,633.10 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามูลค่าร้อยละ 50
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี) / (1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((607,914.42 + 486,331.54 + 48,633.10) x 0.50) x (1-(1.1 x 50/100)) = 30,663,203.32 / 0.45 = 13,798,441.49 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 13,798,441.49 บาท พร้อมด้วยภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 1,379,844.14 บาท รวมภาษีที่ต้องชำระ = 15,178,285.63 บาท
พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้ารถยนต์
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้ารถยนต์ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้ารถยนต์ ดังนี้