ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การออกสลากกินแบ่ง"
(→การคำนวณภาษี) |
(→การคำนวณภาษี) |
||
แถว 136: | แถว 136: | ||
"ภาษีบริการสลากกินแบ่ง" = รายรับการออกสลากกินแบ่ง x อัตราภาษีสรรพสามิต | "ภาษีบริการสลากกินแบ่ง" = รายรับการออกสลากกินแบ่ง x อัตราภาษีสรรพสามิต | ||
− | [[ | + | [[en:Lottery Issuance]] |
รุ่นเมื่อ 17:27, 31 สิงหาคม 2558
เนื้อหา
ความหมายของบริการสลากกินแบ่ง
- สลากกินแบ่ง หรือสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือหวย คือล็อตเตอรีชนิดหนึ่งในประเทศไทย ผู้ที่ต้องการจะขายต้องขออนุญาตจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อน ในปัจจุบันออกทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ยกเว้น
- งวด 1 มกราคม เปลี่ยนไปออกรางวัลในวันที่ 30 ธันวาคม ปีก่อนหน้า เนื่องจากเป็นวันขึ้นปีใหม่
- งวด 1 พฤษภาคม เปลี่ยนไปออกรางวัลในวันที่ 2 พฤษภาคม เนื่องจากตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ
- ปัจจุบันสำนักงานฯ จัดพิมพ์และจำหน่ายสลากงวดละไม่ต่ำกว่า 50 ชุด โดยชุดที่ 01-50 เป็นสลากธรรมดา ชุดที่ 51-100 เป็นสลากการกุศล ตัวเลขเหมือนกันทุกชุด ชุดละ 1,000,000 ฉบับ มักจะขายเป็นคู่ นั่นคือหนึ่งใบจะมีหมายเลขเดียวกันสองชุด ทำให้มีสิทธิ์ได้รับรางวัลเป็นสองเท่าจากที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากสลากมีเพียงหมายเลขชุดเดียว อันเนื่องจากการแบ่งขายหรือการพิมพ์ที่ผิดพลาด หากถูกรางวัลก็จะได้รับเงินรางวัลไปชุดเดียว หรือถ้าถูกรางวัลมากกว่าหนึ่งประเภทในสลากใบเดียวกัน ก็รับเงินรางวัลไปตามจำนวนที่ถูก
- สลากกินแบ่งรัฐบาล พิมพ์โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลในลักษณะรัฐวิสาหกิจ กระทำการตามวัตถุประสงค์ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 มาตรา 5 ดังนี้
- ออกสลากกินแบ่งรัฐบาล
- จัดการโรงพิมพ์อันเป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์สลากและสิ่งพิมพ์อื่นที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลให้ความเห็นชอบ
- กระทำกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
- วิธีตรวจดูสลากบาร์โค้ดด้วยตนเองในเบื้องต้น
- เนื้อกระดาษสลากมีความบาง แต่เหนียว
- รูปภาพสลากมีความคมชัด ตัวเลข และตัวอักษรมีความคมชัดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
- ลายน้ำรูปนกวายุภักษ์เมื่อส่องกับแสงสีขาว มีความคมชัด เห็นเป็นรูปนกวายุภักษ์สีขาวและสีเทา (Two Tone) กระจายทั่วใบสลาก
- เส้นไหมเมื่อส่องกับแสงสีม่วง เรืองแสงสม่ำเสมอเท่ากันทุกเส้นและมีความคมชัด
- หมึก Anti Copy หรือ หมึกที่ใช้พิมพ์ตัวเลขสีส้มเพื่อป้องกันการปลอมแปลง เมื่อมองด้วยตาเปล่า มีสีส้มสว่างชัดเจน
- ตัวหนังสือภาษาไทยที่กำกับตัวเลขด้านข้างของสลาก มีความบางและระยะห่างระหว่างตัวอักษรน้อย
อ้างอิงจาก : เนื้อหาความรู้บนเวบไซต์ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เรื่องการพิสูจน์สลาก ลงวันที่ 24/12/2555 http://www.glo.or.th/ewt_news.php?nid=120
คุณลักษณะสลากกินแบ่ง
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | สัญลักษณ์ประจำสลาก | เป็นภาพหรือเครื่องหมายใดๆ ประจำสลากแต่ละฉบับโดยแต่ละงวด |
2 | งวดที่ | งวดที่ออกรางวัลของสลาก |
3 | ตัวอักษรกำกับใต้เลขประจำสลาก | ตัวอักษรกำกับใต้เลขประจำสลาก |
4 | เลขพิสูจน์สลากจำนวน 16 หลัก | เป็นเลขสำหรับเครื่องตรวจและสั่งจ่ายเงินรางวัล |
5 | รหัสบาร์โค้ด | เป็นสื่อประจำตัวสลาก สำหรับอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยสลากแต่ละฉบับจะมีรหัสบาร์โค้ดไม่เหมือนกัน |
6 | วันที่ระบุวันที่ออกผลสลาก | วันที่ระบุวันที่ออกผลสลาก |
7 | เลขประจำสลาก | เลขประจำสลาก |
8 | ชุดที่ | หมายเลขชุดของสลาก |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบริการสลากกินแบ่งในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 2)
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของสลากกินแบ่ง
- ในส่วนของบริการสลากกินแบ่ง ซึ่งมีรายได้จากการออกสลากกินแบ่ง มีการจัดเก็บภาษีตามมูลค่า ไม่มีการจัดเก็บตามปริมาณ โดยมีการกำหนดอัตราการจัดเก็บสูงสุด แต่อัตราภาษีที่ได้รับการจัดเก็บเป็น 0 เพราะเนื่องจากเป็นบริการที่ได้รับการยกเว้นภาษี
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
10.02 | การออกสลากกินแบ่ง | 20 | ยกเว้นภาษี |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตรายได้จากสลากกินแบ่ง
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตรายได้สลากกินแบ่ง เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้ารถยนต์ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
วิธีการคำนวณภาษี
การคำนวณภาษี/ฐานภาษี
การเสียภาษีภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามค่าบริการ โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
ค่าบริการ หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี มูลค่า = ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
ดังนั้น จึงแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษี
กำหนดให้
T = ภาษีสรรพสามิต, A = ค่าบริการ, R = อัตราภาษี, 0.1T = ภาษีเพื่อมหาดไทย
จะได้
T = (A + T + 0.1T)R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = ค่าบริการ x อัตราภาษี / (1 - (1.1 x อัตราภาษี))
"ภาษีบริการสลากกินแบ่ง" = รายรับการออกสลากกินแบ่ง x อัตราภาษีสรรพสามิต