ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กิจการโทรคมนาคม"
(→แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล) |
|||
แถว 107: | แถว 107: | ||
==การคำนวณภาษี== | ==การคำนวณภาษี== | ||
{{การคำนวณภาษีบริการ}} | {{การคำนวณภาษีบริการ}} | ||
+ | |||
+ | |||
+ | [[en: Telecommunication Business]] |
รุ่นเมื่อ 16:28, 31 สิงหาคม 2558
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปของกิจการโทรคมนาคม
ความหมายโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)
- บริการโทรคมนาคม คือ การส่งแพร่กระจายหรือการรับสัญลักษณ์ สัญญาณ ข้อความ ภาพและเสียงใดๆหรือหมายถึงกระบวนการที่คิดค้นขึ้นเพื่อการใช้งานคุณสมบัติปกติของสายส่งคลื่นวิทยุ การมองเห็น หรือระบบทางแม่เหล็กไฟฟ้า
ความหมายโดยคณะกรรมการบริการกระจายเสียง บริการโทรทัศน์ และบริการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งทำหน้าที่กำกับการประกอบบริการโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบบริการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และ พระราชบัญญัติการประกอบบริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 (ฉบับที่ 2) และได้ให้คำนิยามต่างๆไว้ดังนี้
- บริการโทรคมนาคม หมายความว่า บริการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกำกับบริการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และบริการโทรคมนาคม
- การประกอบบริการโทรคมนาคม หมายความว่า การประกอบบริการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการ ด้านบริการ โทรคมนาคมแก่ บุคคลอื่นทั่วไป
- เลขหมายโทรคมนาคม หมายความว่า ตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์อื่นใดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ซึ่งใช้ระบุที่หมาย ในโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการโทรคมนาคม
- โครงข่ายโทรคมนาคม หมายความว่า กลุ่มของเครื่องโทรคมนาคมที่ต่อถึงกันโดยตรง หรือโดยผ่านเครื่อง ชุมสายหรือเครื่องอื่นใด เพื่อการโทรคมนาคมระหว่างจุดหมายปลายทางที่กำหนด ด้วยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็ก ไฟฟ้าอื่น ระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน
- เชื่อมต่อ หมายความว่า การเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายโทรคมนาคมภายใต้ความตกลงทางเทคนิคและทาง พาณิชย์เพื่อให้ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบบริการโทรคมนาคมฝ่ายหนึ่ง สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการหรือใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบบริการโทรคมนาคมอีกฝ่ายหนึ่งได้
คุณลักษณะของบริการ
ลำดับที่ | ชื่อข้อมูลบริการ | ความหมาย |
1 | ชื่อบริการ | ชื่อบริการโทรคมนาคม เช่น บริการโทรศัพท์พื้นฐานภายในประเทศ เป็นต้น |
2 | ประเภทบริการโทรคมนาคม | ประเภทบริการโทรคมนาคม เช่น บริการโทรศัพท์พื้นฐาน เป็นต้น |
3 | ประเภทกิจการโทรคมนาคม | ประเภทย่อยของบริการ ภายใต้กิจการโทรคมนาคม เช่น กิจการโทรศัพท์พื้นฐาน กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า กิจการอื่นๆ เป็นต้น |
4 | ราคาค่าบริการ | ราคาค่าบริการต่อหน่วย |
5 | หน่วยของบริการ | หน่วยการคิดค่าบริการ เช่น นาที ครั้ง เป็นต้น |
6 | พื้นที่ให้บริการ | พื้นที่ให้บริการ ในประเทศ หรือ ระหว่างประเทศ |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 68) ลงวันที่ 28 ม.ค. 2546
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 79) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
พิกัดภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีตาม พรบ.พิกัดฯ ตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
12.01 | - กิจการโทรคมนาคม | ||
12.01(1) | (1) กิจการโทรศัพท์พื้นฐาน
|
50 | 0 |
12.01(2) | (2) กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า
|
50 | 0 |
12.01(3) | (3) รายรับอื่นๆ | 50 | 0 |
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
วิธีการคำนวณภาษี
การคำนวณภาษี/ฐานภาษี
การเสียภาษีภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามค่าบริการ โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
ค่าบริการ หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี มูลค่า = ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
ดังนั้น จึงแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษี
กำหนดให้
T = ภาษีสรรพสามิต, A = ค่าบริการ, R = อัตราภาษี, 0.1T = ภาษีเพื่อมหาดไทย
จะได้
T = (A + T + 0.1T)R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = ค่าบริการ x อัตราภาษี / (1 - (1.1 x อัตราภาษี))