ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริการสนามกอล์ฟ"
ล (Chutiporn ย้ายหน้า กิจการสนามกอล์ฟ ไปยัง บริการสนามกอล์ฟ โดยไม่สร้างหน้าเปลี่ยนทางตามมา) |
(→การคำนวณภาษี) |
||
แถว 122: | แถว 122: | ||
= 89 / 0.89 | = 89 / 0.89 | ||
= 100 บาท | = 100 บาท | ||
+ | |||
+ | [[en:Golf Course]] |
รุ่นเมื่อ 18:13, 31 สิงหาคม 2558
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปของบริการสนามกอล์ฟ
สนามกอล์ฟ เป็นสถานที่ใช้สำหรับการเล่นกอล์ฟ ซึ่งต้องใช้พื้นที่ดินจำนวนมากในการสร้างสนามกอล์ฟ ปกติสนามกอล์ฟจะมี 18 หลุมสำหรับการเล่นแต่ละรอบ หรือ 27 หลุม และ 36 หลุมตามลำดับ นักเล่นกอล์ฟจะเล่นกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 - 5 คน ระยะเวลาในการเล่นประมาณรอบละ 4 ชั่วโมงครึ่ง โดยจัดเวลาลงสนามกอล์ฟห่างกันกลุ่มละ 5 – 6 นาที สนามกอล์ฟมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมาก นอกจากต้นทุนค่าที่ดินแล้ว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าปุ๋ยบำรุงรักษาสนามหญ้า คิดเป็นต้นทุนประมาณ 50% ของต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของสนามกอล์ฟ
บริการสนามกอล์ฟ คือบริการให้ใช้สนามกอล์ฟสำหรับการเล่น และมักจะมีการให้บริการ Caddy (คนถือถุงกอล์ฟ) และรถกอล์ฟสำหรับเช่า
บริการสนามกอล์ฟจัดเป็น กิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ได้ให้นิยามต่างๆไว้ดังนี้
- บริการ หมายความว่า การให้บริการในทางธุรกิจ สถานบริการ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
- สถานบริการ หมายความว่า สถานที่สำหรับประกอบกิจการในด้านบริการ และให้หมายความถึงสำนักงานใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในการประกอบกิจการ ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดสถานที่ให้บริการได้แน่นอน
- กิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หมายความว่า การประกอบกิจการที่มีผลกระทบต่อดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม เพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ
- รายได้ที่ได้จากบริการสนามกอล์ฟ แยกได้เป็น ค่าสมาชิก ค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ และรายรับอื่นๆ
คุณลักษณะของบริการ
ลำดับที่ | ชื่อข้อมูลบริการ | ความหมาย |
1 | ชื่อบริการ | ชื่อบริการสนามกอล์ฟ เช่น “บริการ Visitor Walk in – 18 หลุม วันธรรมดา” เป็นต้น |
2 | ประเภทบริการ | ประเภทย่อยของบริการสนามกอล์ฟ เช่น บริการสมาชิกสนามกอล์ฟ บริการใช้สนามกอล์ฟ หรือบริการอื่นๆ เป็นต้น |
3 | ค่าบริการ | ราคาค่าบริการต่อหน่วย |
4 | หน่วยของบริการ | หน่วยการคิดค่าบริการ เช่น ราย ครั้ง เป็นต้น |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบริการสนามกอล์ฟในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ว่าด้วยบริการที่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 68) ลงวันที่ 28 ม.ค. 2546
พิกัดภาษีสรรพสามิตบริการสนามกอล์ฟ
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีตาม พรบ.พิกัดฯ ตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
11.01 | สนามกอล์ฟ | ||
11.01(1) | (1) ค่าสมาชิก | 20 | 10 |
11.01(2) | (2) ค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ | 20 | 10 |
11.01(3) | (3) รายรับอื่นๆ | 20 | ยกเว้นภาษี |
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
วิธีการคำนวณภาษี
การคำนวณภาษี/ฐานภาษี
การเสียภาษีภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามค่าบริการ โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
ค่าบริการ หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี มูลค่า = ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
ดังนั้น จึงแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษี
กำหนดให้
T = ภาษีสรรพสามิต, A = ค่าบริการ, R = อัตราภาษี, 0.1T = ภาษีเพื่อมหาดไทย
จะได้
T = (A + T + 0.1T)R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = ค่าบริการ x อัตราภาษี / (1 - (1.1 x อัตราภาษี))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
ตัวอย่างที่ 1 คำนวณจากค่าบริการที่รวมภาระภาษีแล้ว การคิดค่าบริการสนามกอล์ฟ สำหรับบุคคลทั่วไป ขนาด 18 หลุม วันธรรมดา สำหรับบุคคลทั่วไป ราคา 1,000 บาท (รวมค่าบริการ+ ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) อัตราภาษี 10% สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ = 1000 x 10% = 100 บาท
ตัวอย่างที่ 2 คิดจากค่าบริการที่ยังไม่รวมภาระภาษี การคิดค่าบริการสนามกอล์ฟ สำหรับบุคคลทั่วไป ขนาด 18 หลุม วันธรรมดา สำหรับบุคคลทั่วไป ราคา 890 บาท (ต้นทุน + กำไร ที่ยังไม่รวมภาระภาษี) อัตราภาษี 10% สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ = (890 x 0.10) / (1 - (1.1x 0.10)) = 89 / 0.89 = 100 บาท