ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง2560"
(→พิกัดภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง) |
(→พิกัดภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง) |
||
แถว 63: | แถว 63: | ||
{| class="wikitable" | {| class="wikitable" | ||
− | ! rowspan=3 style="width: | + | ! rowspan=3 style="width: 5%;"| ประเภทที่ |
− | ! rowspan=3 style="width: | + | ! rowspan=3 style="width: 10%;"|รายการ |
! colspan=3 style="width: 40%;"| อัตราภาษี | ! colspan=3 style="width: 40%;"| อัตราภาษี | ||
|- | |- |
รุ่นเมื่อ 10:31, 7 ธันวาคม 2562
เนื้อหา
- 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
- 2 คุณลักษณะสินค้า
- 3 กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- 4 พิกัดภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
- 5 บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
- 6 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
- 7 การคำนวณภาษี
- 8 พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
ความหมายตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ตอนที่ 9 สินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
- ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม หมายความว่า
- น้ำหอม หัวน้ำหอม น้ำมันหอม และสิ่งที่ทําให้มีกลิ่นหอมต่าง ๆ แต่ไม่รวมถึง
- หัวน้ำหอมที่ใช้ได้เฉพาะในการผลิตสินค้า และ
- สินค้าตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
- น้ำหอม หัวน้ำหอม น้ำมันหอม และสิ่งที่ทําให้มีกลิ่นหอมต่าง ๆ แต่ไม่รวมถึง
- เครื่องสําอาง หมายความว่า
- ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงแต่งเพื่อใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์สําหรับทําความสะอาด ป้องกัน แต่งเสริมให้เกิดความงาม หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ โดยถู ทา พ่น หรือโรย เป็นต้น แต่ไม่รวมถึง
- เภสัชผลิตภัณฑ์ และ
- สินค้าตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
- ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงแต่งเพื่อใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์สําหรับทําความสะอาด ป้องกัน แต่งเสริมให้เกิดความงาม หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ โดยถู ทา พ่น หรือโรย เป็นต้น แต่ไม่รวมถึง
คุณลักษณะสินค้า
ลำดับที่ | ชื่อข้อมูลคุณสมบัติ | ความหมาย |
1 | ชื่อผลิตภัณฑ์ (แบบหรือรุ่น) | รุ่นของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย |
2 | ยี่ห้อ | เครื่องหมายหรือ สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ให้ใส่ชื่อเครื่องหมายการค้าหลักของสินค้าหรือบริการ |
3 | เป็นสินค้าส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายในประเทศ หรือ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก |
4 | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศหรือไม่ |
5 | ค่าปริมาณหัวน้ำหอม | ระบุร้อยละของปริมาณหัวน้ำหอมในผลิตภัณฑ์ |
6 | ค่าปริมาณแอลกอฮอล์ | ระบุร้อยละของปริมาณแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ |
7 | เป็นผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่ผลิตในประเทศ | ระบุว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่ผลิตในประเทศ หรือไม่ |
8 | ความจุต่อหน่วย (ขวด) | ระบุปริมาตรสุทธิของผลิตภัณฑ์นี้ต่อหนึ่งขวด หน่วยเป็น มิลลิลิตร (ml.) |
9 | ชนิด | ระบุชนิดของผลิตภัณฑ์เครื่องหอม ได้แก่ โอ เดอ พาร์ฟูม, โอ เดอ ตัวเลต, โอ เดอ โคโลน, หัวน้ำหอม, น้ำมันหอม |
10 | ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ต่อหน่วย (ขวด) | ราคาขายสินค้าต่อหน่วยที่โรงอุตสาหกรรมซึ่งรวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพื่อมหาดไทย แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอางในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
- กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องยกเว้นภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
- การยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า พ.ศ. 2560
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร และสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี (ฉบับที่ 2)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร และสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี (ฉบับที่ 3)
- หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอคืนภาษีที่ได้เสียไว้แล้วสำหรับสินค้าที่พิสูจน์ได้ว่าเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพจนใช้การไม่ได้ พ.ศ. 2560
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบบัญชีประจำวัน แบบบัญชีรับจ่ายสินค้า แบบงบเดือน และสถานที่สำหรับยื่นงบเดือนและแบบบัญชีรับจ่ายสินค้า (ฉบับที่ 2)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกัน
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำ และราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) ก่อนการเปลี่ยนแปลงราคา
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและราคาค่าบริการ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3)
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบรายการภาษีสรรพสามิต และสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยการรับ การจ่าย การเก็บรักษาสินค้าและการทำบัญชีคุมสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน
พิกัดภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษี | ||
---|---|---|---|---|
ตามมูลค่าร้อยละ | ตามปริมาณ | |||
หน่วย | หน่วยละ (บาท) | |||
09.01 | (๑) น้ำหอม และหัวน้ำหอม แต่ไม่รวมถึงน้ำหอม และหัวน้ำหอมตาม (3) | 8 | ||
(๒)น้ำมันหอม | 0 | |||
(๓)น้ำหอม และหัวน้ำหอม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ พื้นเมือง ที่ผลิตในประเทศ | 0 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
- ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
กรณีทราบราคาขายสุทธิ
น้ำหอม 10 ขวด ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) ขวดละ 500 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 15
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี = (10 x 500) x 15/100 = 750 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 750 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 75 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 825 บาท
กรณียังไม่ทราบราคาขายสุทธิ
น้ำหอม 10 ขวด ขวดละ 500 บาท (ราคาต้นทุน + กำไรที่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิต) อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 15
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม x อัตราภาษี)/(1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((500 x 10) x 0.15)/(1-(1.1 x 0.15)) = 898.20 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต =898.20 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยร้อยละ 10 ของภาษี = 89.82 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 988.02 บาท
กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ
บริษัท เอ บี นำเข้าน้ำหอม จำนวน 500 ขวด ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 185,250 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 78,000 บาท อากรพิเศษ 7,800 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 15
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี) / (1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((185,250 + 78,000 + 7,800) x 0.15) / (1-(1.1 x 15 / 100)) = 40,657.5 / 0.835 = 48,691.62 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 48,691.62 บาท พร้อมด้วยภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 4,869.16 บาท รวมภาษีที่ต้องชำระ = 53,560.78 บาท
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง สำหรับการนำเข้า/ส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร และในการแจ้งขออนุญาตนำเข้า/ส่งออกสินค้า จำเป็นที่จะต้องทราบพิกัดของศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้สามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดสินค้าของกรมสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรของสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง