ยาสูบ
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้ายาสูบ
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานให้นิยามความหมายของ “ยาสูบ” หมายถึง ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง ได้แก่ บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย
- อีกความหมายของยาสูบ คือ ใบของต้นยาสูบ ที่หั่นเป็นเส้น ใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้น มวนสูบ
- นอกจากนี้ยังหมายถึงชื่อไม้ล้มลุกชนิด Nicotiana tabacum L. ในวงศ์ Solanaceae ใบหั่นเป็นเส้นใช้กินกับหมากหรือมวนสูบ ทำเป็นผงใช้เป่าหรือสูดดม
ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ได้ให้ความหมายของสินค้ายาสูบที่จัดเก็บภาษี ดังนี้
- "ต้นยาสูบ" หมายความว่า พืชนิโคเชียนาทาแบกกุ้ม (NICOTIANATABACUM)
- "พันธุ์ยาสูบพื้นเมือง" หมายความว่า ต้นยาสูบที่ปลูกในประเทศไทยมาแต่ดั้งเดิมและเมื่อบ่มด้วยแดดแล้วใบเป็นสีน้ำตาล
- "ใบยา" หมายความว่า ใบยาสดหรือใบยาแห้งของต้นยาสูบ
- "ยาอัด" หมายความว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยาสูบซึ่งได้ป่นหรือย่อยและทำเป็นแผ่นโดยมีวัตถุอื่นเจือปนด้วยหรือไม่ก็ตาม
- "ยาเส้น" หมายความว่า ใบยาหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว
- "ยาสูบ" หมายความว่า บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง และให้รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย
- "บุหรี่ซิกาแรต" หมายความว่า ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ไม่ว่าจะมีใบยาแห้งหรือยาอัดเจือปนหรือไม่ ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษ หรือใบยาแห้งหรือยาอัด
- "บุหรี่ซิการ์" หมายความว่า ใบยาแห้งหรือยาอัด ซึ่งมวนด้วยใบยาแห้งหรือยาอัด
- "บุหรี่อื่น" หมายความว่า ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ซี่งมวนด้วยใบตอง กลีบบัว กาบหมาก ใบมะกา ใบจาก หรือวัตถุอื่น ที่มิใช่กระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษและที่มิใช่ใบยาแห้งหรือยาอัด
- "ยาเส้นปรุง" หมายความว่า ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ
- "ยาเคี้ยว" หมายความว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้งนอกจากใบยาแห้งพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว
- ชื่อของยาสูบ
- ชื่อสามัญ Tobacco
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Nicotianatabacum L. จัดอยู่ในวงศ์ SOLANACEAE ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพริก มะเขือ มะเขือเทศ และมันฝรั่ง ยาสูบมีสารนิโคติน (nicotine) ที่มีสูตรทางเคมี C10H14N2 สารนี้ได้จากการสังเคราะห์ในส่วนราก โดยพบมากในส่วนของใบ
- สมุนไพรยาสูบ ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ยาซูล่ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ยาซุ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เกร๊อะหร่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ยาออก (ลั้วะ), สะตู้ (ปะหล่อง), จะวั้ว (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น
ธรรมชาติของยาสูบแตกต่างจากพืชอื่นใบของยาสูบมีสารประกอบไนโตรเจนหมู่หนึ่งที่เรียกว่า “แอลคลอยด์” ซึ่งมีนิโคตินเป็นส่วนใหญ่นิโคตินเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวของยาสูบ หรืออาจกล่าวได้ว่านิโคตินคือยาสูบ ต้นยาสูบจะผลิตสารนิโคตินที่รากแล้วส่งไปเก็บไว้ที่ใบดังนั้นถ้าต้นยาสูบมีรากมากก็มีแนวโน้มที่จะผลิตสารนิโคตินได้มากตามไปด้วย ใบยาเหล่านี้เมื่อเกิดการเผาไหม้ จะทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ อีกจำนวนมากทำให้เกิดกลิ่นสีและรสต่างๆ ความหอม และความฉุน ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของยาสูบใบยาแต่ละประเภทจะมีปริมาณสารประกอบเคมีที่ทำให้เป็นลักษณะเด่นแตกต่างกัน
- ชนิดของยาสูบ
ยาสูบที่ปลูกกันทั่วไปมีมากกว่า 60 พันธุ์ หรือ 60 ชนิด ยาสูบที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ชนิด (species) ได้แก่
- ชนิด Nicotianatabacum (ที่กล่าวถึงในบทความนี้) ชนิดนี้มีพื้นที่ปลูกถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกยาสูบทั่วโลก นิยมนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหลาย
- ชนิด Nicotianarustica ชนิดนี้จะมีปริมาณของสารนิโคตินค่อนข้างสูง นำไปใช้ในการทำสารฆ่าแมลง ทำยาเคี้ยว และยาฉุน
- ลักษณะของต้นยาสูบ
ต้นยาสูบแบ่งออกเป็น ส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ ต้นยาสูบ ใบยาสูบ ดอกยาสูบ และผลยาสูบ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแต่ละส่วนได้อธิบายในตาราง
ส่วนประกอบของต้นยาสูบ | รูปประกอบ |
---|---|
ต้นยาสูบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.6-2 เมตร ตามลำต้นและยอดมีขนที่อ่อนนิ่มปกคลุมอยู่ และทุกส่วนของต้นมีต่อมน้ำยางเหนียว ต้นยาสูบเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่ต้องการความชื้นปานกลาง | |
ใบยาสูบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบแคบหรือสิบเรียวและแทบจะไม่มีก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวมีขนาดใหญ่และหนา ท้องใบและหลังใบมีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ | |
ดอกยาสูบ ออกดอกเป็นช่อยาวขึ้นไป โดยจะออกตรงส่วนของปลายยอด โดยดอกจะบานจากส่วนล่างไปหาส่วนบนตามลำดับ ดอกย่อยเป็นสีชมพูอ่อนเกือบขาว หรือเป็นสีแดงเรื่อๆ มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแหลม มีขนสีขาวปกคลุม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลมและมีขน ดอกมีความสวยงามน่าชมมาก | |
ผลยาสูบ ผลเป็นผลแห้งแบบแคปซูล ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก | |
เมล็ดยาสูบ มีขนาดเล็กมาก รูปไข่ สีน้ำตาลเข้ม ผิวเมล็ด มีเส้นสานกันเป็นร่างแห |
- พันธุ์ของยาสูบ
พันธุ์ยาสูบที่ใช้ในประเทศไทยแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ พันธุ์เวอร์จิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์ พันธุ์เตอร์กิช และพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะของยาสูบแต่ละพันธุ์ มีดังนี้
พันธุ์ยาสูบ | ลักษณะ | |||
---|---|---|---|---|
ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย (Virginia) |
ใบจะมีสีเขียวเข้มใบใหญ่ ลักษณะใบโน้มลงใบยาจะแห้งเป็นสีเหลืองหรือส้มมีปริมาณนิโคตินต่ำถึงปานกลาง มีน้ำตาลในใบยาแห้งสูง เป็นใบยาที่มีคุณภาพดีและมีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง แหล่งเพาะปลูก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน หนองคาย และนครพนม
| |||
ยาสูบพันธุ์เตอร์กิช (Turkish or Oriental) |
ใบยามีขนาดเล็กลักษณะของใบยาจะแห้งเป็นสีเหลืองหรือสีส้มอมน้ำตาล ใบมีขนาดเล็ก มีปริมาณนิโคตินน้อย มีน้ำตาลปานกลาง มีกลิ่นหอมเพราะมีน้ำมันหอมระเหยสูง แหล่งเพาะปลูก ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และนครพนม
| |||
ยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ (Burley) |
จะมีสีเขียวอ่อน ลักษณะใบจะตั้งลักษณะของใบยาแห้งจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแก่ มีปริมาณนิโคตินสูง มีน้ำตาลน้อยมาก เป็นใบยาที่มีคุณภาพดีมีกลิ่นหอมคล้ายโกโก้ มีน้ำหนักเบา คุณภาพในการบรรจุมวนดี โครงสร้างโปร่งดูดซึมน้ำหอมน้ำปรุงได้ดี แหล่งเพาะปลูก ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สุโขทัย หนองคาย และนครพนม
|
- การปลูกยาสูบ
พันธุ์ยาสูบที่นิยมปลูกในประเทศไทยคือสายพันธุ์เวอร์จิเนียสายพันธุ์เบอร์เลย์และสายพันธุ์เตอร์กิชโดยการนำมาผลิตจะใช้ใบยาเวอร์จิเนียมากที่สุดคือร้อยละ 68 ส่วนใบยาเบอร์เลย์และเตอร์กิชจะใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิช ของประเทศไทย ได้มีการปลูกกันมานานร่วม 40 ปี โดยมีพื้นที่ปลูกอยู่ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีพื้นที่เป้าหมายในการส่งเสริมการปลูกยาสูบในช่วงปลายฝน
- การบ่มใบยา
กรรมวิธีการบ่มยา แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- บ่มไอร้อน (Flue-Cured Tobacco) : เป็นการบ่มโดยอาศัยความร้อนจากไอร้อนที่ผ่านไปตามท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ใบถูกควันไฟโดยตรง ได้แก่ ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนียร์
- บ่มแดด (Sun-Cured Tobacco) : เป็นการบ่มโดยการตากแดดหรือผึ่งลมได้แก่ ยาสูบพันธุ์เตอร์กิชและยาสูบพันธุ์พื้นเมือง
- บ่มอากาศ (Air-Cured Tobacco) : เป็นการบ่มโดยการตากไว้ในโรงบ่มที่มีอากาศถ่ายเทดีได้แก่ ยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์
- ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนการผลิตยาสูบเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินไปจนถึง การจำหน่ายและผลิต
- การเตรียมดิน เกษตรกรจะเตรียมดินในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยจะทำแปลงปลูกในแปลงนาภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว การไถพรวนดินทำ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ไถดะความลึก 30-40 เซนติเมตร แล้วตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคไข่ของแมลงและวัชพืช จากนั้นทำการไถพรวนอีก แล้วทำการยกแปลงสูง 15-20 เซนติเมตร ขนาดความกว้าง 1 เมตร ความยาวแปลงขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่
- การเพาะกล้า เกษตรกรจะเริ่มเพาะกล้ายาสูบในแปลงเพาะ ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน โดยส่วนใหญ่จะเพาะกล้าในแปลงนา 4-5 แปลง สำหรับการปลูกจำนวนต้น 30,000 ถึง 40,000 ต้นต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ การเตรียมแปลงเพาะกล้าโดยการไถพรวนดิน แล้วทำการยกร่องแปลงแล้วปรับผิวหน้าแปลงให้สม่ำเสมอ นำเมล็ดยาสูบหว่านทั่วแปลง และดูแลรดน้ำจนต้นกล้ายาสูบอายุ 25-30 วัน ก็ย้ายปลูกลงแปลง
- การปลูก เมื่อต้นกล้ายาสูบอายุ 30-35 วัน ก็ทำการย้ายกล้าปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้ ช่วงเดือนที่เดือนที่ปลูกส่วนใหญ่คือเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีสภาพอากาศเย็นและมีความชื้นพอเหมาะสำหรับการปลูกยาสูบ ระยะปลูก 10 x 40 เซนติเมตร พื้นที่ปลูก 1 ไร่ โดยใช้ต้นกล้า 32,000-40,000 ต้น
- การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 4 - 6 - 24 + MgO + 0.5 B อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีจะใส่ปุ๋ยเคมีเพียงครั้งเดียวหลังการปลูกลงแปลง 7 วัน ปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีและสูตรที่ใช้เป็นสูตรที่ใช้เป็นไปตามที่ทางบริษัทที่รับซื้อแนะนำเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่กำหนด การให้น้ำ การให้น้ำจะใช้วิธีการแบบปล่อยน้ำเข้าตามร่องแปลงและบางรายใช้วิธีการตักน้ำรดจากบ่อ โดยใช้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ และคลองชลประทาน การให้น้ำจะเฉลี่ย 3 ครั้งตลอดอายุการปลูก หากใช้น้ำมากเกินไปจะทำให้ใบยาสูบมีขนาดใหญ่ กลิ่นจะไม่หอม และรสชาติไม่ดี ไม่เป็นที่ต้องการของแหล่งรับซื้อ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช (รูปที่ 1 7) ปัญหาของโรคในต้นยาสูบ คือ โรคใบหดและโรคใบด่าง ซึ่งมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคใบหด เกษตรกรจะใช้สารเคมีกำจัดพืชออซีนฉีดพ่น ตลอดอายุการปลูกจะฉีดพ่น 6-8 ครั้ง
- การเก็บใบยาสูบ ระยะการเก็บเกี่ยวใบยาสูบที่เหมาะสม คือ เมื่อต้นยาสูบมีอายุ 60 วัน ในระยะนี้ใบที่เก็บมาบ่มและตาก จะมีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของแหล่งรับซื้อ การเก็บจะเริ่มเก็บจากโคนต้นใบถึงยอดครั้งละ 3-5 ใบ และเว้นระยะการเก็บในแต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน
- การตากใบยาสูบ หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรจะนำใบยาสูบตากแดดนาน 15-20 วัน (รูปที่ 1 8) ก็จะทำให้ได้ใบยาสูบที่มีความชื้นพอดีและเป็นที่ต้องการของแหล่งรับซื้อ
- การกองหมักใบยาสูบ หลังจากตากใบยาสูบแล้ว เกษตรกรจะต้องนำใบยาสูบมาหมักก่อนเพื่อให้ความชื้นไม่เกิน 13-14 เปอร์เซ็นต์
- การจำหน่ายผลผลิต เกษตรกรจะผลิตใบยาสูบได้ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ โดยนำไปขายที่แหล่งรับซื้อใบยาสูบ คือสถานีใบยาสูบต่างๆ ประจำพื้นที่นั่นๆ
คุณลักษณะยาสูบ
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | เครื่องหมายการค้าหลัก | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 |
2 | ปริมารณบรรจุ/หน่วย | ปริมาณน้ำหนักสินค้า ต่อ 1 หน่วยสินค้า เช่น ปริมาณน้ำหนักบุหรี่ซิกาแรต1 มวน เท่ากับ 1 กรัม |
3 | ขนาดบรรจุ | ขนาดบรรจุสินค้ายาสูบ เช่น จำนวนมวนต่อซอง หรือ จำนวนซองต่อห่อ |
4 | ชนิดซอง | ชนิดซองบรรจุ เช่น ซองแข็ง/ซองอ่อน |
5 | เครื่องหมายการค้ารอง | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 187) เรื่อง กำหนดฐานภาษี ประเภท และชนิดยาสูบ ซึ่งการขายยาสูบตามประเภทและชนิดดังกล่าวต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 79/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าแสตมป์ การรับ-จ่าย การเก็บรักษา การควบคุมการใช้แสตมป์ยาสูบที่นำไปปิดบนซองบุหรี่ซิกาแรตที่ทำในราชอาณาจักร ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องให้แจ้งราคาขายยาเส้นหรือยาสูบ ณ โรงอุตสาหกรรมยาสูบ ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง ผ่อนผันให้ผู้เดินทางนำยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรทางด่านศุลกากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานแต่ต้องชำระค่าแสตมป์ยาสูบโดยการปิดและขีดฆ่าแสตมป์ยาสูบตามวิธีการที่กำหนด ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง วิธีการปิดและขีดฆ่าแสตมป์ยาสูบ ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
- กฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าแสตมป์ยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
- ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับสุราและยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
- ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดเก็บ การนำส่งเงิน การงดเว้น การยกเว้น การลดหย่อน และการขอคืนเงินบำรุงองค์การขององค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ. 2551
- ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยวิธีการ เงื่อนไขและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปิดและขีดฆ่าแสตมป์ยาสูบ อัตราค่าแสตมป์ยาสูบ ๐.๐๐ บาท สำหรับยาเส้นของผู้ได้รับอนุญาตให้เพาะปลูกฯ พ.ศ. 2556
- ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วย วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการชำระค่าแสตมป์ยาสูบสำหรับยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตที่ผู้เดินทางนำติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักรทางด่านศุลกากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2553
- ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การจ่ายแสตมป์ยาสูบทดแทนสำหรับแสตมป์ยาสูบที่ทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2544
- พระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ไว้ ณ วันท ี่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
อัตราภาษีสรรพสามิตสินค้ายาสูบ
อัตราภาษีของสินค้ายาสูบ | |||||
---|---|---|---|---|---|
รายการ | อัตราสูงสุดที่จัดเก็บ | อัตราที่จัดเก็บในปัจจุบัน | |||
ตามมูลค่า(ร้อยละ) | ตามปริมาณ(บาท) | ตามมูลค่า(ร้อยละ) | ตามปริมาณ(บาท) | ||
1.ยาเส้น | 90 | 3.00 บาท/ก. | 10 | 0.01 บาท/ก. | |
2.ยาสูบ | |||||
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 87 | 1.00 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 20 | 1.00 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 10 | 0.01 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 20 | 1.00 บาท/ก. | |
|
90 | 3.00 บาท/ก. | 10 | 0.10 บาท/ก. |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้ายาสูบ
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้ายาสูบ เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้ายาสูบ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
สินค้ายาสูบมีการคิดภาษี 2 วิธีคือ คิดอัตราภาษีตามมูลค่าและคิดอัตราภาษีตามปริมาณ โดยผู้เสียภาษีต้องคำนวณการเสียภาษีทั้ง 2 วิธี และให้เสียภาษีตามวิธีที่คำนวณแล้วเป็นเงินสูงกว่า วิธีการคำนวณภาษีสินค้ายาสูบและตัวอย่างการคำนวณแสดงในหัวข้อ 3.1 นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการนำเข้าส่งออกสินค้ายาสูบ ต้องมีการเสียภาษีการนำเข้าส่งออกที่กรมศุลกากร และต้องระบุรหัสพิกัดศุลกากรของสินค้าในการแจ้งเสียภาษี
วิธีการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบที่ทำในราชอาณาจักร
- วิธีที่ 1 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามมูลค่า
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (ต้นทุนการผลิตไม่รวมค่าแสตมป์ยาสูบ) x อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า / 1- อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า
- วิธีที่ 2 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณ
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = น้ำหนัก (กรัม) x อัตราค่าแสตมป์ตามปริมาณ
ตัวอย่าง
- บุหรี่ซิกาแรตก้นกรองซองแข็งมีต้นทุนการผลิตไม่รวมค่าแสตมป์ยาสูบ 6.25 บาท/ซอง
วิธีการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
- วิธีที่ 1 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามมูลค่า
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (ซี.ไอ.เอฟ + อากร + ค่าธรรมเนียมอื่น) x อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า / 1- อัตราค่าแสตมป์ตามมูลค่า
- วิธีที่ 2 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณ
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = น้ำหนัก (กรัม) x อัตราค่าแสตมป์ตามปริมาณ
ตัวอย่าง
- บุหรี่ซิกาแรตนำเข้า มี ราคา ซี.ไอ.เอฟ. + อากร + ค่าธรรมเนียมอื่น 10.00 บาท ต่อซอง
วิธีคำนวณ
- วิธีที่ 1 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามมูลค่า
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (10 x 80%) / (1 – 80%)
- = 8/0.2
- = 40 บาทต่อซอง
- ค่าแสตมป์ยาสูบ = (10 x 80%) / (1 – 80%)
- วิธีที่ 2 คำนวณค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณค่าแสตมป์ยาสูบบุหรี่ซิกาแรตยกเว้นการเก็บค่าแสตมป์ยาสูบในอัตราตามปริมาณ
- ดังนั้น ต้องชำระค่าแสตมป์ยาสูบ 40 บาท/ซอง
พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้ายาสูบ
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้ายาสูบ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้ายาสูบดังนี้
ชนิดสินค้า | พิกัดศุลกากร |
---|---|
ยาเส้น | 2403.10.00 |
บุหรี่ซิกาแรต | 2402.20.00, 2402.20.90 |
บุหรี่ซิการ์ | 2402.10.00 |
บุหรี่อื่นๆ | 2402.90.20 |
ยาเส้นปรุง | 2403.00.00 |
ยาเคี้ยว | 2403.99.50 |
ต้นยาสูบ | 2401.30.90 |
เปลือกต้นยาสูบ | 2401.30.90 |
เศษใบยา | 2401.30.00 |
ตัวอย่างใบยา | 2401.30.90 |
ใบยา | 2401.20.00 |
ก้านใบยา | 2401.30.10 |
เมล็ดพันธุ์ยาสูบ | 2401.30.90 |