ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด"
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | + | เข้าชมรายละเอียดของบริการสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 [[สถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด (พรบ. พ.ศ.2560)|คลิกที่นี่]] | |
==ความรู้ทั่วไปของสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด== | ==ความรู้ทั่วไปของสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด== |
รุ่นเมื่อ 07:40, 27 เมษายน 2560
เข้าชมรายละเอียดของบริการสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 คลิกที่นี่
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปของสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
ความหมายของบริการสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
การให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด โดยมีผู้ให้บริการ จะต้องมีลักษณะดังนี้
- ให้บริการอาบน้ำและนวด หรือ
- ให้บริการอบตัวและนวด
ประเภทของสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด โดยมีผู้ให้บริการ
- บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด ในวัด หรือสถานที่สำหรับปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนา (ยกเว้นภาษี)
- บริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (ยกเว้นภาษี)
- บริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ในสถานบริการเสริมความงาม หรือเพื่อสุขภาพ (สปา) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้แก่สถานบริการประเภทอาบน้ำหรืออบตัวและนวด ในสถานบริการเสริมความงามหรือเพื่อสุขภาพ ลงวันที่ 19 ต.ค. พ.ศ. 2552 กำหนดให้สถานบริการประเภทอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ในสถานบริการเสริมความงามหรือเพื่อสุขภาพ ที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการกำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 หรือที่ประกาศดังกล่าวถือว่ามีมาตรฐาน ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับรายรับของการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด โดยมีผู้ให้บริการ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานหรือถือว่ามีมาตรฐานตามประกาศดังกล่าว
คุณลักษณะของบริการ
ลำดับที่ | ชื่อข้อมูลคุณสมบัติ | ความหมาย |
1 | ชื่อสถานบริการ | ชื่อที่จดทะเบียนของสถานบริการ |
2 | ชนิดของบริการ | ประเภทของการให้บริการของสถานบริการ ได้แก่ สปา, นวดแผนโบราณ, อาบ อบ นวด, อื่นๆ |
3 | มีผู้ให้บริการอาบน้ำหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการมีการให้บริการอาบน้ำโดยมีผู้ให้บริการหรือไม่ |
4 | มีผู้ให้บริการอบตัวหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการมีการให้บริการอบตัวโดยมีผู้ให้บริการหรือไม่ |
5 | มีผู้ให้บริการนวดหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการมีการให้บริการนวดโดยมีผู้ให้บริการหรือไม่ |
6 | สถานที่ให้บริการอยู่ในวัด หรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการอยู่ในวัด หรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาหรือไม่ |
7 | สถานที่ให้บริการอยู่ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการอยู่ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลหรือไม่ |
8 | สถานที่ให้บริการอยู่ในสถานบริการเสริมความงาม หรือเพื่อสุขภาพที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการอยู่ในสถานบริการเสริมความงาม หรือเพื่อสุขภาพ (สปา) ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ |
9 | รายรับจากการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด | ระบุรายรับจากการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวดในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 68) ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้แก่สถานบริการประเภทอาบน้ำหรืออบตัว และนวดในสถานบริการเสริมความงามหรือเพื่อสุขภาพ ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้แก่สถานบริการประเภทอาบน้ำหรืออบตัวและนวด ในสถานบริการเสริมความงามหรือเพื่อสุขภาพ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานที่การบริการผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 พ.ศ.2551 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2551
- พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509
พิกัดภาษีสรรพสามิตรสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
09.02 | - สถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด | ||
(1) รายรับของการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด | |||
- รายรับของการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวดโดยมีผู้ให้บริการ | 20 | 10 | |
- รายรับของการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวดในสถานศึกษาหรือในวัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา | 20 | ยกเว้นภาษี | |
- รายรับของการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล | 20 | ยกเว้นภาษี | |
- รายรับของการให้บริการอาบน้ำหรืออบตัวและนวด ในสถานบริการเสริมความงาม หรือเพื่อสุขภาพ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด | 20 | ยกเว้นภาษี | |
(2) รายรับอื่นๆ | 20 | ยกเว้นภาษี |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
- ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของบริการสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของบริการที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของบริการ
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
วิธีการคำนวณภาษี
การคำนวณภาษี/ฐานภาษี
การเสียภาษีภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามค่าบริการ โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
ค่าบริการ หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี มูลค่า = ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
ดังนั้น จึงแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษี
กำหนดให้
T = ภาษีสรรพสามิต, A = ค่าบริการ, R = อัตราภาษี, 0.1T = ภาษีเพื่อมหาดไทย
จะได้
T = (A + T + 0.1T)R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = ค่าบริการ x อัตราภาษี / (1 - (1.1 x อัตราภาษี))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
ผู้ประกอบการสถานบริการสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ โดยวิธีการดังต่อไป
ตัวอย่างที่ 1 กรณีที่ทราบมูลค่าแล้ว
- สมมุติให้ผู้ประกอบการกิจการสถานบริการอาบ อบ นวด เรียกเก็บค่าบริการเท่ากับ 1,000 บาท (รวมภาระภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระและมูลค่าเพิ่มแล้ว)
การคำนวณ: ค่าบริการ 1,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม = (1,000 x 7%) = 65.42 บาท ฐานราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 1,000 - 65.42 บาท = 934.58 บาท |
ราคาค่าบริการ 934.58 บาท จึงป็นราคาค่าบริการที่รวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระไว้แล้ว สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ อัตราร้อยละ 10 + ภาษีเก็บเพื่อกระทรวงมหาดไทยอีกร้อยละ 1
ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ = (934.58 x 11%) = 102.80 บาท ราคาค่าบริการที่ไม่รวมภาษีสรรพสามิต = 934.58 – 102.80 = 831.78 บาท |
นำตัวเลขมาใส่ในโครงสร้างราคาค่าบริการได้ดังนี้ โครงสร้างราคาค่าบริการสถานบริการ
1. ราคาค่าบริการซึ่งไม่รวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ 831.78 บาท
2. ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ 102.80 บาท
3. ราคาค่าบริการซึ่งรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระเรียบร้อยแล้ว (1) + (2) = 934.58 บาท
ตัวอย่างที่ 2 กรณีที่ทราบค่าบริการที่ยังไม่รวมภาระภาษี
- สมมุติให้ผู้ประกอบการกิจการสถานบริการอาบ อบ นวด เรียกเก็บค่าบริการเท่ากับ 831.78 บาท (ยังไม่รวมภาระภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระและมูลค่าเพิ่ม)
การคำนวณ: ค่าบริการยังไม่รวมภาระภาษี = 831.78 บาท ภาษีสรรพสามิต = (831.78 x 0.11) / (1 – (1.1 x 0.10) = 91.4958 / 0.89 ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ = 102.80 บาท ค่าบริการซึ่งรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระเรียบร้อยแล้ว = 831.78 + 102.80 = 934.58 บาท |
นำตัวเลขมาใส่ในโครงสร้างราคาค่าบริการได้ดังนี้ โครงสร้างราคาค่าบริการ
1. ราคาค่าบริการซึ่งไม่รวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ 831.78 บาท
2. ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ 102.80 บาท
3. ราคาค่าบริการซึ่งรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระเรียบร้อยแล้ว (1) + (2) = 934.58 บาท