สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
เนื้อหา
- 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
- 2 คุณลักษณะสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
- 3 กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- 4 พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
- 5 บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
- 6 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
- 7 การคำนวณภาษี
- 8 พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Ozone Depleting Substances, ODS) เป็นกลุ่มของสารประเภท ไฮโดรคาร์บอนที่มีองค์ประกอบเป็นคลอรีน ฟลูออรีน และโบรมีน หรือกลุ่มของสารประเภทฮาโลเจเนเต็ตไฮโดรคาร์บอน (Halogenated Hydrocarbon) ดังแสดงในรูปที่ 1-1 ตัวอย่างสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเช่น สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon, CFCs) ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbon, HCFCs) หรือ ฮาลอน (Halons) เป็นต้น องค์ประกอบของสารในกลุ่มนี้ เมื่อมีการสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศระดับสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่มีโอโซน (O3) จะเกิดการแตกตัว และมีการทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของโอโซน มีผลทำให้โมเลกุลโอโซนนั้นถูกทำลาย ซึ่งความสำคัญของโอโซนคือทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเล็ต (UV) ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกทะลุผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศ ในปริมาณที่มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หรือส่งกระทบต่อระบบนิเวศของโลกได้ ชั้นบรรยากาศของโลก
โดยกลไกในการทำลายโอโซนของสารในกลุ่มนี้ เริ่มต้นจากการที่สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนมีการลอยตัวสูงขึ้นไปในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และได้ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ต ทำให้โมเลกุลของสารดังกล่าวแตกตัวให้อะตอมของคลอรีน (CI) และเมื่ออะตอมของคลอรีนไปทำปฏิกิริยากับโอโซน เกิดเป็นสารประกอบชื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน (O2) โดยที่คลอรีนในสารประกอบคลอรีนโมโนออกไซด์ จะหลุดออกมาและไปทำลายโอโซนหรือทำให้โอโซนเกิดการแตกตัว โดยมีการดึงอะตอมของออกซิเจนออกมาต่อเนื่องกันไป โดยที่อะตอมของคลอรีนที่หลุดออกมา 1 อะตอมนั้น มีความสามารถในการทำลายโอโซน 1 โมเลกุลได้เป็นพันครั้ง เพราะเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์มีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว ก็จะทำให้เกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เป็นการทำลายโอโซนไปอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ประเทศไทยได้เป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกของพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ในปี พ.ศ. 2532 รวมถึงเป็นประเทศภาคีของอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซนด้วย ซึ่งมีพันธกรณีที่ต้องดำเนินการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2553 จึงเป็นที่มาของการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 เพื่อใช้เป็นมาตรการในการสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกรณีดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง โดยพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนประเภทอนุพันธ์ชนิดฮาโลเจเนเต็ดของไฮโดรคาร์บอน เป็นสินค้าที่ต้องจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเภทที่ 08.90 ตอนที่ 8 สินค้าอื่น ๆ ของพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ความหมายตามพระราชบัญญัติสารทำลายโอโซน พุทธศักราช 2486 คำว่า สารทำลายโอโซน หมายความว่า สารทำลายโอโซนซึ่งทำด้วยกระดาษหรือหนัง รวมถึงสารทำลายโอโซนซึ่งทำด้วยพลาสติก วัตถุจำพวก
พลาสติก หรือวัตถุเทียมหนัง หรือซึ่งทำด้วยวัตถุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
สารเคมีที่จัดว่าเป็นสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ได้แก่
- คาร์บอนเตตระคลอไรด์
- ไตรคลอโรอีเทน
- ไตรคลอโรฟลูออโรมีเทน
- ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน
- ไตรคลอโรไตรฟลูออโรอีเทน
- ไดคลอโรเตตระฟลูออโรอีเทน
- คลอโรเพนตะฟลูออโรอีเทน
- โบรโมคลอโรไดฟลูออโรมีเทน
- โบรโมไตรฟลูออโรมีเทน
- ไดโบรโมเตตระฟลูออโรอีเทน
- อื่นๆ
สารเคมีเหล่าจะนี้มีความสามารถในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน หรือที่เรียกว่า ศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Ozone Depleting Potential, ODP) แตกต่างกัน โดยสารที่มีค่า ODP มากจะมีศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนสูงกว่าสารที่มีค่า ODP ต่ำดังแสดงในตาราง 1-1
คุณลักษณะสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี | ข้อมูลประเภทสารเคมี |
2 | องค์ประกอบส่วนผสม | องค์ประกอบส่วนผสมสำคัญของสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน |
3 | ข้อมูลอันตราย | ข้อมูลผลกระทบและอันตรายของสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน |
4 | มาตรฐานการปฐมพยาบาล | มาตรฐานวิธีการปฐมพยาบาล |
5 | มาตรฐานผจญเพลิง | มาตรฐานวิธีการป้องกันอัคคีภัย |
6 | มาตรการเมื่อรั่วไหล | มาตรการดำเนินการเมื่อมีการรั่วไหลของสารเคมี |
7 | ข้อปฏิบัติการเก็บรักษา | รายละเอียดสำคัญในการเก็บรักษา |
8 | การควบคุมการสัมผัสสาร | ข้อมูลการควบคุมเมื่อมีการสัมผัสสาร |
9 | สมบัติทางเคมีและกายภาพ | คุณสมบัติสำคัญทางเคมีและกายภาพของสารเคมี |
10 | ความเสถียรต่อปฏิกริยา | ความเสถียรต่อปฏิกริยาของสารเคมี |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- กําหนดให้สารควบคุมตามบัญชีท้ายพิธีสารมอนทรีออลเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนําเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 120) ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2540
- พระราชกฤษฎีกา กำหนดประเภทสินค้าสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการกําหนดปริมาณการนําเข้าสารซีเอฟซี (CFCs) ประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกําหนดชนิดของวัตถุดิบที่จะนํามาใช้หรือผลิตในโรงงาน ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
ตอนที่ 8 สินค้าอื่นๆ สินค้าอื่นๆนอกจากตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 7 ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษีกา |
|||
08.90(5) | สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนประเภทอนุพันธ์ฮาโลเจเนเต็ดของไฮโดรคาร์บอน | ||
08.90(5)(5.1) | (5.1) คาร์บอนเตตระคลอไรด์ | 30 | 30 |
08.90(5)(5.2) | (5.2) ไตรคลอโรอีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.3) | (5.3) ไตรคลอโรฟลูออโรมีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.4) | (5.4) ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.5) | (5.5) ไตรคลอโรไตรฟลูออโรอีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.6) | (5.6) ไดคลอโรเตตระฟลูออโรอีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.7) | (5.7) คลอโรเพนตะฟลูออโรอีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.8) | (5.8) โบรโมคลอโรไดฟลูออโรมีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.9) | (5.9) โบรโมไตรฟลูออโรมีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.10) | (5.10) ไดโบรโมเตตระฟลูออโรอีเทน | 30 | 30 |
08.90(5)(5.11) | (5.11) อื่น ๆ นอกจาก (5.1) ถึง (5.10) | 30 | 30 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
ตัวอย่างกรณีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
บริษัท เวบแพก กรุ๊ป จำกัด นำเข้าสารซีเอฟซี 15,000 กรัม ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 18,000 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 12,500 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 30 จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 13,656.72 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 1,365.67 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 15,022.39 บาท
ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี) / (1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((18,000 + 12,500 ) x 30 /100)/(1-(1.1 x 30 / 100)) = 13,656.72 บาท = 600 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 13,656.72 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 1,365.67 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 15,022.39 บาท
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน สำหรับการนำเข้า/ส่งออกสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร และในการแจ้งขออนุญาตนำเข้า/ส่งออกสินค้า จำเป็นที่จะต้องทราบพิกัดของศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้สามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดสินค้าของกรมสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรของสินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน