สุรา
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าสุรา
สุรา หมายถึง วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
- สุราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
สุราแช่ หมายถึง สุราที่ไม่ได้กลั่นและให้ความหมายรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีด้วย
สุรากลั่น หมายถึง สุราที่กลั่นแล้ว และให้ความหมายรวมถึงสุรากลั่นที่ผสมสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่าสิบห้าดีกรีด้วย
เชื้อสุรา หมายความว่า แป้งเชื้อสุรา แป้งข้าวหมักหรือเชื้อใด ๆ ซึ่งเมื่อหมักกับวัตถุหรือของเหลวอื่นแล้วสามารถทำให้เกิดแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำสุราได้ พระราชบัญญัติสุรา_พศ_2493, เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://taxone.excise.go.th/projects/1/wiki/พระราชบัญญัติสุรา_พศ_2493
ประเภทสินค้าและคุณสมบัติของสินค้าสุรา
ประเภทของสินค้าสุราตามกรมสรรพสามิต
สุราแช่
- 1. เบียร์
- 2. ไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น
- ไวน์ที่ทำจากองุ่น
- สปาร์กลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น
- 3. ชนิดอื่นนอกจาก (1)และ(2)
- สุราแช่พื้นเมือง
- คูลเลอร์ (สุราแช่อัดก๊าซ)
- สุราแช่พร้อมดื่ม (RTD)
- เวอร์มุท ที่ได้จากกระบวนการหมักหรือสุราแช่ผสมสุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี
- สาเก ที่ได้จากกระบวนการหมักหรือสุราแช่ผสมสุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี
- คุ๊กกิ้งไวน์ ที่ได้จากกระบวนการหมักหรือสุราแช่ผสมสุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี
- สุราแช่ผลไม้ที่ไม่มีส่วนผสมขององุ่น
- ไวน์ที่ไม่ได้ทำจากองุ่น
สุรากลั่น
- สุราขาว
- สุรากลั่นอื่นนอกจากสุราขาว
- สุราผสม
- สุราปรุงพิเศษ
- บรั่นดี
- จิน
- รัม
- ลิเคียว
- วอดก้า
- วิสกี้
- เวอร์มุท ที่ได้จากการนำสุรากลั่นผสมสุราแช่ที่มีแรงแอลกอฮอล์เกิน 15 ดีกรี
- สาเก ที่ได้จากการนำสุรากลั่นผสมสุราแช่ที่มีแรงแอลกอฮอล์เกิน 15 ดีกรี
- คุ๊กกิ้งไวน์ ที่ได้จากการนำสุรากลั่นผสมสุราแช่ที่มีแรงแอลกอฮอล์เกิน 15 ดีกรี
- สุราพิเศษ(PortWine)
- สุราจีน
- สุราพิเศษ(โซวจู)
- สุราเชอรี่
- เตอกีลา
- สุราสามทับ
- สุราสามทับที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรม
- สุราสามทับที่นำไปใช้ในการแพทย์
- อื่น ๆ นอกจากเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและทางการแพทย์