ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หินอ่อนและหินแกรนิต"
ล (Nopash ย้ายหน้า คู่มือสรรพสามิต:หินอ่อนและหินแกรนิต ไปยัง หินอ่อนและหินแกรนิต โดยไม่สร้าง...) |
(→การคำนวณภาษี) |
||
แถว 141: | แถว 141: | ||
==การคำนวณภาษี== | ==การคำนวณภาษี== | ||
{{การคำนวณภาษี}} | {{การคำนวณภาษี}} | ||
+ | |||
+ | [[en:Marble and Granite]] |
รุ่นเมื่อ 18:26, 31 สิงหาคม 2558
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าหินอ่อนและหินแกรนิต
- หิน (Rock) หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ
- หินอ่อน (Mable) เป็นหินปูนที่ถูกแปรสภาพโดยกระบวนการทางธรณีวิทยา จนทำให้ผลึกแร่แคลไซต์ในเนื้อหินตกผลึกใหม่ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน เปลี่ยนเนื้อให้มีเม็ดแร่หยาบขึ้น เนื้อแน่นและเนียนขึ้น หรือมีลวดลาย ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและหินประดับ เช่น ปูพื้น ประดับผนัง ทำขั้นบันได โต๊ะ และรูปสลักต่างๆ
- หินแกรนิต (Granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอนซึ่งประกอบด้วย แร่เฟลด์สปาร์และแร่ควอตซ์ เป็นหินที่ไม่เป็นโพรงมีเนื้อแข็ง ทนทาน มีค่าความหนาแน่นสูง ไม่ยืดหยุ่นไม่ซึมซับน้ำและความชื้น ลวดลายและสีสันนั้นบนเนื้อหิน จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะภูมิประเทศและแร่ธาตุต้นกำเนิดที่มีอยู่มากในบริเวณนั้นๆ
คุณลักษณะสินค้า
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | เครื่องหมายการค้าหลัก | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ให้ใส่ชื่อเครื่องหมายการค้าหลักของสินค้าหรือบริการ |
2 | เครื่องหมายการค้ารอง | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 |
3 | ราคา C.I.F. | ราคา Cost, Insurance and Freight สำหรับสินค้านำเข้า |
4 | ราคาขายปลีก | ราคาขายปลีกของสินค้า |
5 | ราคา ณ โรงอุตสาหกรรม | ราคาขาย ณ หน้าโรงอุตสาหกรรมหินอ่อนและหินแกรนิต ที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องแจ้งแก่กรมสรรพสามิตเพื่อชำระภาษี |
6 | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ ถ้าเป็นสินค้านำเข้าตอบ ใช่ ถ้าไม่ใช่สินค้านำเข้าตอบ ไม่ |
7 | นำเข้ามาจากประเทศ | ประเทศที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนำสินค้าเข้ามา |
8 | ส่งออกไปยังประเทศ | จุดหมายปลายทางที่ผู้ส่งออกทำการส่งสินค้าหินอ่อนและหินแกรนิตออกไปนอกประเทศ |
9 | ประเภทหิน | ประเภทของสินค้าว่าเป็นหินอ่อนหรือหินแกรนิต |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าหินอ่อนและหินแกรนิตในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 45)ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2540
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 22 กันยายน 2540
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าหินอ่อนและหินแกรนิต
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
ตอนที่ 8 สินค้าอื่นๆ | |||
08.90 (3) | (3) หินอ่อน และหินแกรนิต | 30 | ยกเว้นภาษี |
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))