ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แก้วและเครื่องแก้ว"
(→ความรู้ทั่วไปของแก้วและเครื่องแก้ว) |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | + | เข้าชมรายละเอียดของสินค้าแก้วและเครื่องแก้วตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 [[แก้วและเครื่องแก้ว (พรบ. พ.ศ.2560)|คลิกที่นี่]] | |
==ความรู้ทั่วไปของแก้วและเครื่องแก้ว== | ==ความรู้ทั่วไปของแก้วและเครื่องแก้ว== |
รุ่นเมื่อ 07:31, 27 เมษายน 2560
เข้าชมรายละเอียดของสินค้าแก้วและเครื่องแก้วตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 คลิกที่นี่
เนื้อหา
- 1 ความรู้ทั่วไปของแก้วและเครื่องแก้ว
- 2 คุณลักษณะสินค้า
- 3 กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- 4 พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว
- 5 บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว
- 6 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
- 7 การคำนวณภาษี
- 8 พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าแก้วและเครื่องแก้ว
ความรู้ทั่วไปของแก้วและเครื่องแก้ว
ความหมายของสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว
- ผลิตภัณฑ์แก้วและเครื่องแก้ว คือ แก้วที่มีส่วนประกอบของตะกั่ว ใช้ทำเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งตกแต่งทั่วไป รวมถึงเครื่องใช้ที่ต้องการความสวยงาม เช่น ลูกปัด แจกัน นาฬิกา แก้ว เป็นต้น ประเภทของแก้วเลดคริสตัล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- แก้วอ่อน (Soda Lime) มีโซดาและหินปูนเป็นองค์ประกอบร่วมกับทราย มีทรายแก้ว 71 – 75% โซดา 12 – 16% และสารประกอบอื่น ๆ แก้วชนิดนี้เป็นแก้วที่ใช้เป็นขวด กระปุก ขวดน้ำดื่ม หรือบานกระจกประตูหน้าต่าง
- แก้วคริสตัล (Lead Glass) ประกอบด้วยทรายแก้ว 54 – 65% ออกไซด์ของตะกั่ว 18 – 38% โซดา 13 – 15% แก้วชนิดนี้มีค่าดัชนีหักเหแสงสูง ส่องประกายแวววาว จึงนำมาใช้เป็นภาชนะสวยงามบนโต๊ะอาหาร แจกัน แก้วน้ำ และอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆ
- แก้วบอรอซิลิเคต (Borosilicate) เป็นแก้วชนิดที่มีโบริกออกไซด์เป็นองค์ประกอบมีทรายแก้ว 70 – 80% โบริกออกไซด์ 7 – 13% และอลูมิเนียมออกไซด์ 2 – 7% แก้วชนิดนี้มีความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมี และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จึงเป็นแก้วที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมเคมีและในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งเป็นหลอดและขวดบรรจุยาในวงการเภสัชกรรม และใช้เป็นโคมแก้วในหลอดไฟ และอุปกรณ์เครื่องครัวชนิดทนความร้อนที่ใช้ในเตาอบได้
ประเภทสินค้าแก้วและเครื่องแก้วตามชนิดของสินค้า
- ชนิดของแก้วและเครื่องแก้ว
- ใช้ตกแต่งภายในบ้าน สำนักงาน
- แก้วเครื่องดื่มแบบเสต็มแวร์ (ทรงสูง มีก้าน)
- แก้วเครื่องดื่มอื่นๆ
- เครื่องแก้วชนิดที่ใช้บนโต๊ะอาหาร (นอกจากแก้วเครื่องดื่ม) หรือใช้ในครัว
- เครื่องแก้วอื่นๆ
- ใช้เป็นเครื่องประดับ
- ลูกปัด ไข่มุกเทียม รัตนชาติเทียมหรือกึ่งรัตนชาติเทียม และแก้วทำเป็นของขนาดเล็กที่คล้ายกัน
- ลูกกลมแล้วขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 มิลลิเมตร
- ใช้ตกแต่งภายในบ้าน สำนักงาน
คุณลักษณะสินค้า
ลำดับที่ | ชื่อข้อมูลคุณสมบัติ | ความหมาย |
1 | ชื่อผลิตภัณฑ์ (แบบหรือรุ่น) | รุ่นของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย |
2 | ยี่ห้อ | เครื่องหมายหรือ สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ให้ใส่ชื่อเครื่องหมายการค้าหลักของสินค้าหรือบริการ |
3 | มีส่วนผสมทางเคมีที่ทำให้เกิดความแวววาว แกะสลักได้ง่ายหรือไม่ | ระบุว่าผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมทางเคมีที่ทำให้เกิดความแวววาว แกะสลักได้ง่าย ได้แก่ ตะกั่วออกไซด์ (PbO), แบเรียมออกไซด์ (BaO), สังกะสีออกไซด์ (ZnO), โปแตสเซียมออกไซด์ (K2O) หรือไม่ |
4 | สัดส่วนของส่วนผสมทางเคมีที่ทำให้เกิดความแวววาว แกะสลักได้ง่าย | ระบุชื่อและร้อยละของส่วนผสมทางเคมีที่ทำให้เกิดความแวววาว แกะสลักได้ง่าย ได้แก่ ตะกั่วออกไซด์ (PbO), แบเรียมออกไซด์ (BaO), สังกะสีออกไซด์ (ZnO), โปแตสเซียมออกไซด์ (K2O) |
5 | นำไปเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่นหรือไม่ | นำไปเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด |
6 | ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรมต่อชิ้น | ราคาขายสินค้าต่อหน่วยที่โรงอุตสาหกรรมซึ่งรวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพื่อมหาดไทย แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) |
7 | เป็นสินค้ายกเว้นหรือไม่ | เป็นสินค้ายกเว้น ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณเทียม หรือ อวัยวะเทียม หรือไม่ (ไม่เข้าพิกัด) |
8 | เป็นสินค้าส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายในประเทศ หรือ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก |
9 | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ | ระบุว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศหรือไม่ |
10 | วัตถุประสงค์การใช้งาน | ชนิดของผลิตภัณฑ์โดยดูจากวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่ แก้วเครื่องดื่มแบบสเต็มแวร์ (ทรงสูง มีก้าน)/ แก้วเครื่องดื่มอื่น ๆ/ เครื่องแก้วชนิดที่ใช้บนโต๊ะอาหาร (นอกจากแก้วเครื่องดื่ม) หรือใช้ในครัว/ เครื่องแก้วอื่น ๆ / ลูกปัด ไข่มุกเทียม รัตนชาติเทียมหรือกึ่งรัตนชาติเทียม และแก้วทำเป็นของขนาดเล็กที่คล้ายกัน/ ลูกกลมแก้วขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ม.ม. |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าแก้วและเครื่องแก้วในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 41) ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2541
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษี สำหรับแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่น ๆ ที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่น ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีสำหรับแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่น ๆ ที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า หรือสิ่งของอื่น (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2545
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีสำหรับแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่น ๆ ที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่น ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
04.01 | แก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่นๆ | ||
04.01(1) | (1) ชนิดใช้บนโต๊ะอาหาร ในครัว ในห้องน้ำ ในสำนักงานใช้ตกแต่งภายในหรือเพื่อวัตถุประสงค์ที่คล้ายกัน | 30 | 15 |
04.01(2) | (2) ลูกปัด ไข่มุกเทียม รัตนชาติเทียมหรือกึ่งรัตนชาติเทียมและแก้วทำเป็นของขนาดเล็กที่คล้ายกัน และของทำด้วยของดังกล่าว นอกจากเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม ลูกตาแก้วนอกจากที่เป็นอวัยวะเทียม รูปปั้นขนาดเล็ก และเครื่องประดับอื่นๆ ทำด้วยแก้วที่ทำเป็นรูปโดยใช้ตะเกียงฟู่ นอกจากเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม ลูกกลมขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 มิลลิเมตร | 30 | 15 |
04.01(3) | (3) สินค้าตาม (1) หรือ (2) ที่นำไปเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด | 30 | ยกเว้นภาษี |
04.01(4) | (4) อื่นๆ | 30 | ยกเว้นภาษี |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว
- ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
กรณีทราบราคาขายสุทธิ
แก้วเลดคริสตัล ชนิดที่ใช้บนโต๊ะอาหาร จำนวน 5 ชิ้น ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) ชิ้นละ 1,500 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 15
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี = (5 x 1,500) x 15/100 = 1,125 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 1,125 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 112.50 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 1,237.50 บาท
กรณียังไม่ทราบราคาขายสุทธิ
แก้วเลดคริสตัล 3 ชิ้น ราคาชิ้นละ 5,000 บาท (ราคาต้นทุน + กำไรที่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิต) อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 15
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม x อัตราภาษี)/(1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((3 x 5,000) x 0.15)/(1-(1.1 x 0.15)) = 2,694.61 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 2,694.61 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยร้อยละ 10 ของภาษี = 269.46 บาท รวมภาษีต้องชำระ =2,964.07 บาท
กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ
บริษัท เอ บี นำเข้าแก้วเลดคริสตัล ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 25,000 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 2,500 บาท อากรพิเศษ 250 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 15
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี) / (1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((25,000 + 2,500 + 250) x 0.15) / (1-(1.1 x 15 / 100)) = 4,162.5 / 0.835 = 4,985.03 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 4,985.03 บาท พร้อมด้วยภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี =498.50 บาท รวมภาษีที่ต้องชำระ = 5,483.53 บาท
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าแก้วและเครื่องแก้ว
พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าแก้วและเครื่องแก้ว สำหรับการนำเข้า/ส่งออกสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร และในการแจ้งขออนุญาตนำเข้า/ส่งออกสินค้า จำเป็นที่จะต้องทราบพิกัดของศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้สามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดสินค้าของกรมสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรของสินค้าแก้วและเครื่องแก้ว