ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แบตเตอรี่"
(→พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าแบตเตอรี่) |
(→พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าแบตเตอรี่) |
||
แถว 288: | แถว 288: | ||
= 600 บาท | = 600 บาท | ||
− | == | + | ==พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าแบตเตอรี่== |
− | [[พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าแบตเตอรี่]] | + | เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าแบตเตอรี่ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า [[พิกัดศุลกากร (Harmonize) สินค้าแบตเตอรี่|ดังนี้]] |
+ | |||
+ | [[en:Battery]] |
รุ่นเมื่อ 17:52, 31 สิงหาคม 2558
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าแบตเตอรี่
ความหมายทั่วไปของสินค้าแบตเตอรี่
เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยน พลังงานเคมีที่เก็บไว้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้เป็น 4 ชนิดดังนี้
- แบตเตอรี่ปฐมภูมิ เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วไม่สามารถนำกลับมาชาร์จประจุเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่มักเรียกกันว่า “ถ่าน” มีอยู่หลายชนิด เช่น ถ่านอัลคาไลน์ ถ่านลิเทียม เป็นต้น แบตเตอรี่แบบนี้มีหลายขนาด ใช้ในวิทยุ นาฬิกา เก็บพลังงานได้สูง อายุการใช้งานสูง แต่เมื่อถูกใช้หมดจะกลายเป็นขยะมลพิษ
- แบตเตอรี่ทุติยภูมิ เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วสามารถนำกลับมาชาร์จประจุเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่มือถือ และถ่านรุ่นใหม่ๆ เป็นต้น
- แบตเตอรี่เชิงกล เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วนำกลับมาชาร์จประจุใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนขั้วอิเล็กโทรดขั้วลบของแบตเตอรี่ที่ใช้งานแล้ว ซึ่งทำให้มีการชาร์จประจุอย่างรวดเร็ว เช่น แบตเตอรี่ชนิดอลูมิเนียม-อากาศ
- แบตเตอรี่ผสม เป็นแบตเตอรี่ที่มีเซลล์ของเชื้อเพลิงผสมอยู่ โดยขั้วอิเล็กโทรดข้างหนึ่งเป็นก๊าซและอีกข้างหนึ่งเป็นขั้วของตัวมันเอง เช่น แบตเตอรี่ชนิดซิงค์-โบรมีน
ความหมายสินค้าแบตเตอรี่ของกรมสรรพสามิต
แบตเตอรี่ คืออุปกรณ์ที่บรรจุพลังงานไฟฟ้าในรูปของพลังงานเคมีแล้วจ่ายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงออกไปใช้งาน ประเภทของแบตเตอรี่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่แห้ง (Dry Cell) และ แบตเตอรี่น้ำ (Storage Battery)
- แบตเตอรี่แห้ง (Dry Cell) มีคุณสมบัติในการให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากการแปลงผันพลังงานโดยกระบวนการเคมีไฟฟ้า เมื่อใช้งานจนหมดหรือพลังไฟฟ้าหมด มักต้องทิ้งไปไม่สามารถนำไปบรรจุไฟฟ้ากลับให้เต็มใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่คอมพิวเตอร์ แบตเตอรี่มือถือ มีทั้งใช้แล้วทิ้งและสามารถนำมาบรรจุไฟฟ้าใหม่ (Recharge) ได้
- แบตเตอรี่น้ำ (Storage Battery) มีคุณสมบัติในการใช้งานคือ เมื่อใช้แบตเตอรี่พลังงานเคมีภาพในแบตเตอรี่จะเปลี่ยนแปลงจ่ายกระแสไฟตรงออกมา และเมื่อใช้งานจนไฟฟ้าหมดหรือเลิกใช้งาน สามารถนำแบตเตอรี่ไปบรรจุไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ เพื่อปรับสภาพทางเคมีให้กลับสู่สภาพเดิมได้ หรือสามารถใช้งานแบตเตอรี่กลับไปกลับมาได้เป็นเวลานานจนกว่าแบตเตอรี่น้ำนั้นจะเสื่อมสภาพ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ แบตเตอรี่เรือยนต์
คุณลักษณะแบตเตอรี่
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | ชื่อ | ชื่อหรือชนิดของแบตเตอรี่ |
2 | จำนวน | จำนวนของสินค้าแบตเตอรี่ |
3 | มูลค่าสินค้า | มูลค่าของสินค้าแบตเตอรี่ |
4 | ราคาขายปลีก | ตามร่างประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต “ราคาขายปลีก” หมายความว่า ราคาขายต่อหน่วยที่ขายตรงให้แก่ ผู้บริโภคทั่วไปรายสุดท้ายโดยสุจริตและเปิดเผยในตลาดปกติ |
5 | ราคาขายปลีกแนะนำ | ตามร่างประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต “ราคาขายปลีกแนะนำ” หมายความว่า ราคาขายปลีกแนะนำที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้นำเข้า กำหนดให้เป็นราคาขายต่อผู้บริโภคทั่วไปรายสุดท้ายโดยสุจริตและเปิดเผยในตลาดปกติ โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ที่องค์กรของรัฐบาลเสียแทนผู้ขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร และภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าแบตเตอรี่ในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิต จากแบตเตอรี่ที่ได้เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว ลงวันที่ วันที่ 17 กรกฏาคม 2540
- กฏกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษีเนื่องจากการบริจาคและสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนภาษีเนื่องจากสินค้าเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ ลงวันที่ 4 มีนาคม 2542
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการคืนภาษีสำหรับแบตเตอรี่ที่พิสูจน์ได้ว่าเสียหายหรือ เสื่อมคุณภาพจนใช้การไม่ได้ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2542
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตจากแบตเตอรี่ที่ได้เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตจากแบตเตอรี่ที่ได้เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว ลงวันที่ 27 มกราคม 2547
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง ยกเลิกหลักเกณฑ์เงื่อนไขสำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตจากแบตเตอรี่ที่ได้เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 88)
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาจขอชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน โดยมีหลักประกัน
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าแบตเตอรี่
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
ตอนที่ 8 สินค้าอื่นๆ สินค้าอื่นๆนอกจากตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 7 ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษีกา |
|||
08.90(4) | แบตเตอรี่ | ||
08.90(4)(4.1) | (4.1) แบตเตอรี่ | 30 | 10 |
08.90(4)(4.2) | (4.2) แบตเตอรี่ที่ใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตจากแบตเตอรี่ที่ได้เสียภาษีสรรพสามิต | 30 | 5 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าแบตเตอรี่
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าแบตเตอรี่ เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าแบตเตอรี่ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
กรณีที่ผลิตในประเทศ
บริษัท แบตเตอรี่ไทยแลนด์ จำหน่ายแบตเตอรี่ จำนวน 40 ลูก ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) ลูกละ 150 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 10
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี = (40 x 150) x 10/100 = 600 บาท
กรณีที่คำนวณภาษีแบบแยกนอก
บริษัท แบตเตอรี่ไทยแลนด์ จำหน่ายแบตเตอรี่ จำนวน 40 ลูก ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ไม่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) ลูกละ 133.50 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 10
ภาษีสรรพสามิต = ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม x อัตราภาษี/1-(1.1x อัตราภาษี) = (133.50 x 40) x 0.10 / 1–(1.1 x 0.10) = 600 บาท
พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าแบตเตอรี่
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าแบตเตอรี่ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า ดังนี้