ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โคมไฟฟ้าและโคมระย้า"
(→พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า) |
|||
แถว 181: | แถว 181: | ||
==พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า== | ==พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า== | ||
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า [[ตารางแสดงพิกัดภาษีสรรพสามิต และพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า|ดังนี้]] | เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า [[ตารางแสดงพิกัดภาษีสรรพสามิต และพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า|ดังนี้]] | ||
+ | |||
+ | [[en:Lighting and Chandelier]] |
รุ่นเมื่อ 17:40, 31 สิงหาคม 2558
เนื้อหา
- 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
- 2 คุณลักษณะสินค้า
- 3 กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- 4 พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
- 5 บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
- 6 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
- 7 การคำนวณภาษี
- 8 พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
ความหมายทั่วไป
- โคมไฟฟ้า (Electrical Lamp) เป็นเครื่องไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่ให้แสงสว่าง ที่ผู้ใช้สามารถบังคับทิศทางแสงของหลอดให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้
- โคมระย้า หรือ แชนเดอเลียร์ (Chandelier) เป็นโคมไฟฟ้าประเภทตกแต่ง ที่แขวนบนเพดานหรือผนัง ตามห้องโถงหรือสถานที่ต่างๆ เช่น โรงแรม อาคารสถานที่ ตลอดจนที่อยู่อาศัยต่างๆ เป็นต้น
- โคมไฟฟ้าและโคมระย้า เป็นสินค้าที่ต้องมีการเสียภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ความหมายของกรมสรรพสามิต
- โคมไฟฟ้าและโคมระย้าจัดเป็น เครื่องไฟฟ้าชนิดหนึ่ง กรมสรรพสามิตได้ให้นิยาม เครื่องไฟฟ้า หมายความว่าผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้า และให้รวมถึงสิ่งที่ใช้ประกอบกับไฟฟ้าหรือเกี่ยวกับไฟฟ้าด้วย
คุณลักษณะสินค้า
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | เครื่องหมายการค้าหลัก | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ให้ใส่ชื่อเครื่องหมายการค้าหลักของสินค้าหรือบริการ |
2 | เครื่องหมายการค้ารอง | สัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 |
3 | ราคา C.I.F. | ราคา Cost, Insurance and Freight สำหรับสินค้านำเข้า |
4 | ราคาขายปลีก | ราคาขายปลีกของสินค้า |
5 | ราคา ณ โรงอุตสาหกรรม | ราคาขาย ณ หน้าโรงอุตสาหกรรมโคมไฟฟ้าและโคมระย้า ที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโคมไฟฟ้าและโคมระย้าต้องแจ้งแก่กรมสรรพสามิตเพื่อชำระภาษี |
6 | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ | เป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ ถ้าเป็นสินค้านำเข้าตอบ ใช่ ถ้าไม่ใช่สินค้านำเข้าตอบ ไม่ |
7 | นำเข้ามาจากประเทศ | ประเทศที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนำสินค้าเข้ามา |
8 | ส่งออกไปยังประเทศ | จุดหมายปลายทางที่ผู้ส่งออกทำการส่งสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้าออกไปนอกประเทศ |
9 | ประเภทสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า | ประเภทของสินค้าเป็น
1) โคมไฟฟ้า 2) โคมระย้าชนิดอื่นๆ หรือ 3) โคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่นๆ |
10 | ทำมาจากวัสดุ | วัสดุที่ใช้ในการทำโคมระย้า |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้าในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 41) ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2540
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2540
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 22 กันยายน 2540
พิกัดภาษีสรรพสามิตสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
ตอนที่ 3 เครื่องไฟฟ้า | |||
03.02 | โคมไฟฟ้าและโคมระย้าสำหรับติดเพดานหรือผนัง ไม่รวมถึงที่ให้แสงสว่างแก่ที่สาธารณะกลางแจ้งหรือถนนหลวง | ||
03.02 (1) | (1) โคมไฟฟ้า | 15 | ยกเว้นภาษี |
03.02 (2) | (2) โคมระย้าชนิดอื่นนอกจากที่ทำจากหรือมีส่วนประกอบของแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่นๆ | 15 | ยกเว้นภาษี |
03.02 (3) | (3) โคมระย้าที่ทำจากหรือมีส่วนประกอบของแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่นๆ | 15 | 15 |
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าโคมไฟฟ้าและโคมระย้า ดังนี้