ไนต์คลับ ดิสโกเธค
จาก สารานุกรมสรรพสามิต
รุ่นเมื่อ 18:24, 16 กรกฎาคม 2558 โดย Nectec (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปของไนท์คลับ ดิสโกเธค
ความหมายของบริการไนท์คลับและดิสโกเธค
- การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการประเภทไนท์คลับและดิสโกเธคซึ่งกำหนดให้เก็บจากรายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำ โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือเครื่องเสียง หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง หมายถึง แม้ไม่จัดให้มีที่เต้นรำไว้อย่างชัดแจ้งแต่ปรากฏว่ามีการเต้นรำกันเป็นปกติวิสัยในสถานที่แห่งนั้น ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมประเภทไนท์คลับและดิสโกเธคที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วย
- นอกจากนี้ สถานบริการที่มีใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (4) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมประเภทไนท์คลับและดิสโกเธคที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วย ดังมีรายละเอียดของ สถานบริการตามมาตรา 3 (4) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ดังนี้
(4) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายหรือให้บริการ โดยมีรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) มีดนตรี การแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงและยินยอม หรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดง หรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า (ข) มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้า โดยจัดให้มีผู้บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า (ค) มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น เช่น การเต้นบนเวทีหรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม (ง) มีลักษณะของสถานที่ การจัดแสงหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตไนท์คลับ ดิสโกเธคในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 68) ลงวันที่ 28 ม.ค. 2546
- พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509
คุณลักษณะของบริการ
ลำดับที่ | ชื่อข้อมูลคุณสมบัติ | ความหมาย |
1 | ชื่อสถานบริการ | ชื่อที่จดทะเบียนของสถานบริการ |
2 | มีใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (4) แห่งพรบ. สถานบริการ พ.ศ. 2509 หรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการมีใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (4) แห่งพรบ. สถานบริการ พ.ศ. 2509 หรือไม่ |
3 | มีอาหาร สุรา หรือ เครื่องดื่มจำหน่ายหรือให้บริการหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการมีอาหาร สุรา หรือ เครื่องดื่มจำหน่ายหรือให้บริการหรือไม่ |
4 | จัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงหรือไม่ |
5 | จัดให้มีที่เต้นรำหรือมีการเต้นรำกันเป็นปกติวิสัยหรือไม่ | ระบุว่าสถานบริการจัดให้มีที่เต้นรำหรือมีการเต้นรำกันเป็นปกติวิสัยหรือไม่ |
6 | รายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำ โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง | ระบุรายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำ โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง |
พิกัดภาษีสรรพสามิตสถานบริการไนท์คลับ ดิสโกเธค
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | ลดลงเหลือ/ยกเว้น ตามมูลค่าร้อยละ |
---|---|---|---|
09.01 | - ไนท์คลับและดิสโกเธค | ||
(1) รายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำ โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง | 20 | 10 | |
(2) รายรับอื่นๆ | 20 | ยกเว้นภาษี |
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
วิธีการคำนวณภาษี
การคำนวณภาษี/ฐานภาษี
การเสียภาษีภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามค่าบริการ โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
ค่าบริการ หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี มูลค่า = ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
ดังนั้น จึงแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (ค่าบริการ + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษี
กำหนดให้
T = ภาษีสรรพสามิต, A = ค่าบริการ, R = อัตราภาษี, 0.1T = ภาษีเพื่อมหาดไทย
จะได้
T = (A + T + 0.1T)R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = ค่าบริการ x อัตราภาษี / (1 - (1.1 x อัตราภาษี))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
ผู้ประกอบการกิจการไนท์คลับและดิสโกเธคสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้ สมมติให้ผู้ประกอบกิจการประเภทไนท์คลับและดิสโกเธคมีรายรับเท่ากับ 10,000 บาท ต่อเดือน
การคำนวณ รายรับต่อเดือน 10,000 บาท ภาษีสรรพสามิต = 10,000 x 10% = 1,000 บาท (1) ภาษีเพื่อมหาดไทย = 1,000 x 10% = 100 บาท (2) ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ = (1) + (2) หรือ 10,000 x 11 % = 1,100 บาท |