ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพ่"
(→แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล) |
(→พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าไพ่) |
||
แถว 199: | แถว 199: | ||
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าไพ่ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าไพ่ [http://igtf.customs.go.th/igtf/viewerImportTariff.do?param=findTaff&lang=t&taffCode=95044000&docBegnDate=10%2F07%2F2556 ดังนี้] | เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าไพ่ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าไพ่ [http://igtf.customs.go.th/igtf/viewerImportTariff.do?param=findTaff&lang=t&taffCode=95044000&docBegnDate=10%2F07%2F2556 ดังนี้] | ||
+ | |||
+ | [[en:Card]] |
รุ่นเมื่อ 18:00, 31 สิงหาคม 2558
เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าไพ่
ความหมายตาม พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486 คำว่า ไพ่ หมายความว่า ไพ่ซึ่งทำด้วยกระดาษหรือหนัง รวมถึงไพ่ซึ่งทำด้วยพลาสติก วัตถุจำพวกพลาสติก หรือวัตถุเทียมหนัง หรือซึ่งทำด้วยวัตถุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้กฎหมายจำแนกไพ่ออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ไพ่ป๊อก
- ไพ่อื่นๆ เช่น ไพ่ไทย ไพ่ผ่องจีน ไพ่สี่สี
ผู้ที่มีหน้าที่ชำระภาษีสรรพสามิตของสินค้าไพ่ สามารถแบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้
- ผู้ผลิตไพ่
- ผู้นำไพ่เข้ามาในราชอาณาจักร
ไพ่ที่ทำในราชอาณาจักร ผู้ทำไพ่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องเสียค่าธรรมเนียมพร้อมประทับตราก่อนนำออกจากโรงงานไพ่ ถึงแม้เป็นไพ่ที่โรงงานไพ่ทำเองก็ต้องเสียค่าประทับตราไพ่ สำหรับผู้ผลิตไพ่ ของประเทศไทยมีเพียง โรงงานไพ่กรมสรรพสามิต เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตไพ่ได้
ประเภทของสินค้าไพ่
- ไพ่ป๊อก
- ไพ่ป๊อกพลาสติก
- ไพ่ป๊อกพลาสติกขอบทองและขอบอื่นๆ
- ไพ่ป๊อกพลาสติกธรรมดา
- ไพ่ป๊อกกระดาษ
- ไพ่ป๊อกที่ทำด้วยวัสดุอื่นๆ
- ไพ่ป๊อกพลาสติก
- ไพ่อื่น
- ไพ่ไทย
- ไพ่ผ่องจีน
- ไพ่จีนสี่สี
คุณลักษณะไพ่
ลำดับที่ | คุณลักษณะสินค้า | ความหมาย |
---|---|---|
1 | ตรา/ยี่ห้อ | ตราหรือยี่ห้อสินค้าไพ่ |
2 | ทำมาจากวัสดุ | วัสดุที่ใช้ทำไพ่ เช่น กระดาษ พลาสติก หนัง |
3 | จำนวนใบ | จำนวนไพ่ นับเป็นใบ |
4 | จำนวนสำรับ | จำนวนไพ่ นับเป็นสำรับ |
5 | ราคาขายต่อใบ | ราคาขายไพ่ ต่อใบ |
6 | ราคาขายต่อสำรับ | ราคาขายต่อสำรับ |
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486
- พระราชบัญญัติไพ่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505
- พระราชบัญญัติไพ่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2514) ออกตามความในพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486
อัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าไพ่
- ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียม
- ไพ่ที่ทำในราชอาณาจักร
- ผู้ทำไพ่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องเสียค่าธรรมเนียมพร้อมประทับตราก่อนนำออกจากโรงงานไพ่ ถึงแม้เป็นไพ่ที่โรงงานไพ่ทำเองก็ต้องเสียค่าประทับตราไพ่
- ไพ่ที่ทำขึ้นมี 4 ชนิดได้แก่
- ไพ่ไทย(ไพ่ผ่องไทย) สำรับละ 120 ใบ
- ไพ่ผ่องจีน(มีรูปตัวหนังสือจีน) สำรับละ 116 ใบ
- ไพ่จีนสี่สี (รูปหนังสือจีนและพื้นตัวไพ่เป็นสี่สี คือ ขาว เขียว แดง เหลือง) สำรับละ 112 ใบ
- ไพ่ป๊อก สำรับละ 52 ใบ (ไม่รวมตัวโจ๊กซึ่งถือเป็นไพ่เหมือนกัน) ไพ่ป๊อกทำขึ้นจากวัสดุ 2 ชนิด คือกระดาษและพลาสติก
- ไพ่ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการประทับตราไพ่ พร้อมกับชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมได้แก่
- ผู้นำไพ่เข้ามา
- ผู้ยังให้นำไพ่เข้ามา การประทับตราไพ่ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำไพ่เข้ามาแสดงใบอนุญาตต่อพนักงานศุลกากรและนำไพ่ไปประทับตรา ณ สถานที่ที่อธิบดีก กำหนดภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับไพ่จากเจ้าพนักงานศุลกากร ซึ่งสถานที่ที่อธิบดี กำหนดในการประทับตราไพ่ คือ โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
- อัตราค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่
- อัตราค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่และค่าธรรมเนียมขายไพ่เพื่อการค้า
- 3.1 ค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่
ประเภทที่ | รายการ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ | อัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บตามปริมาณ |
---|---|---|---|
1 | ไพ่ป๊อกทุกขนาดและทุกชนิด | - | 100 ใบ / 30 บาท |
2 | ไพ่อื่นทุกขนาดและทุกชนิด | - | 100 ใบ / 2 บาท |
- 3.2 อัตราค่าธรรมเนียมการขายไพ่เพื่อการค้า (บังคับเฉพาะผู้ขายไพ่เพื่อการค้าต้องได้รับอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียม)
- ขายปลีก ปีละ 20 บำท
- ขายส่ง ปีละ 100 บำท
- 3.2 อัตราค่าธรรมเนียมการขายไพ่เพื่อการค้า (บังคับเฉพาะผู้ขายไพ่เพื่อการค้าต้องได้รับอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียม)
หากใบอนุญาตหายหรือชำรุดต้องมีการออกใบแทน ขายปลีก 5 บาท ขายส่ง 10 บาท โดยใบอนุญาตมีอายุเพียงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต
บริการค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าไพ่
ระบบค้นหาพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าไพ่ เป็นบริการของกรมสรรพสามิตที่ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดอัตราอัตราภาษีของสินค้าไพ่ โดยระบบจะค้นหาพิกัดอัตราอัตราภาษีที่ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ใช้ระบุ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่า และโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีสรรพสามิตที่พึงชำระของสินค้า
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องและวิธีการกรอกข้อมูล
การคำนวณภาษี
เนื่องจาก ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ความหมาย มูลค่า ตาม ม.8 ในกรณีต่างๆ ตามกฎหมายจึงสรุปได้ดังนี้
กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
วิธีการคำนวณภาษีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1)
- ม.8(1) การเสียภาษีตามมูลค่า ให้ถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ
- ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ต้นทุน + กำไร โดยที่ไม่รวมภาษี
- มูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
โดย มูลค่า คือ ราคาขายที่รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่พึงต้องชำระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มูลค่า คือ ราคาที่รวมภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ซึ่งจะเป็นราคาขายก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
แต่ถ้ายังไม่ทราบราคาดังกล่าวหรือราคาขาย ซึ่งจะพบในกรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใหม่หรือจะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ที่ยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ แต่ทราบแต่ราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตพึงต้องชำระ (คือต้นทุน + กำไร เท่านั้น) สามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้จากสูตร
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษี × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ดังนั้น หากทราบราคาขายสุทธิที่รวม VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว สามารถใช้ราคาดังกล่าว หัก VAT ออก ซึ่งเป็นราคาที่รวมถึงภาระภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว ฉะนั้น จึงสามารถคำนวณภาษีสรรพสามิตได้ ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า X อัตราภาษีสรรพสามิต
หากยังไม่ทราบค่าภาษีสรรพสามิต แล้วจะคำนวณค่าภาษีได้อย่างไร ?
สูตรได้จากการแก้สมการเพื่อคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
สมมุติสัญลักษ์ ภาษีสรรพสามิต = T , ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม = A , อัตราภาษี = R
แทนค่า
T = (A + T + 10%T) x R T = (A + T + 0.1T) x R T = (A + 1.1T)R T = AR + 1.1TR T - 1.1TR = AR T(1 - 1.1R) = AR T = AR/(1-1.1R)
ดังนั้น แทนค่าสัญลักษณ์ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี)) จึงได้สูตรการคำนวณภาษี สำหรับกรณีที่ยังไม่ทราบมูลค่า ซึ่งทราบแต่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (ต้นทุน + กำไร) ที่ยังไม่รวมภาระภาษี จะคำนวณหาค่าภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษี)/(1-(1.1 × อัตราภาษี))
กรณีสินค้านำเข้า ม.8(3) วิธีการคำนวณภาษีกรณีสินค้านำเข้า ม.8(3)
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.ฎ. แต่ไม่รวมถึง VAT + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่า ดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต โดยสามารถแก้สมการในทำนองเดียวกับกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จึงได้สูตรการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนี้
สูตร ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT)× อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1- (1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต) )
การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม × อัตราภาษีสรรพสามิต)/(1-(1.1 × อัตราภาษีสรรพสามิต))
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
กรณีทราบราคาขายสุทธิ
บริษัท มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตรถจักรยานยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรม จำนวน 5 คัน ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) ชิ้นละ 25,000 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 3
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี = (5 x 25,000) x 3/100 = 3,750 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 3,750 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 375 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 4,125 บาท
กรณียังไม่ทราบราคาขายสุทธิ
รถจักรยานยนต์ 3 คัน ราคาคันละ 20,000 บาท (ราคาต้นทุน + กำไรที่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิต) อัตราภาษีสรรพสามิตตามูลค่าร้อยละ 3
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม x อัตราภาษี)/(1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((3 x 20,000) x 0.03)/(1-(1.1 x 0.03)) = 1,861.42 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 1,861.42 พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทยร้อยละ 10 ของภาษี = 186.142 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 2,047.56 บาท
กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ
บริษัท มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 123,622.08 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 12,362.20 บาท อากรพิเศษ 1,236.22 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามูลค่าร้อยละ 3
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = ((C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี) / (1-(1.1 x อัตราภาษี)) = ((123,622.08 + 12,362.2 + 1,236.22) x 0.03) x (1-(1.1 x 3/100)) = 4,116.615 / 0.967 = 4,257.09 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 4,257.09 บาท พร้อมด้วยภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 425.70 บาท รวมภาษีที่ต้องชำระ = 4,682.79 บาท
พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สินค้าไพ่
เนื่องจากการนำเข้า/ส่งออกสินค้าไพ่ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่านกรมศุลกากร ดังนั้นเพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถระบุพิกัดศุลกากร สำหรับการแจ้งขออนุญาตหรือชำระภาษีผ่านศุลกากรได้ จึงได้จับคู่พิกัดภาษีสรรพสามิตกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ สำหรับสินค้าไพ่ ดังนี้